วัดหน่อพุทธางกูร จ.สุพรรณบุรี

บนเส้นทาง สู่ จังหวัดสุพรรณบุรี ทอดสายตายาวออกไป แลเห็นทิวข้าว สีเขียวสด สวยงาม ลู่ลมตามกันทั่วท้องทุ่งนา จุดมุ่งหมายของการมาเยือนสุพรรณบุรีครั้ง นี้ ก็ไม่แตกต่างจากครั้งอื่นๆ คือเที่ยวไปเรื่อยๆ ใจฉันเริ่มนึกถึง ที่เที่ยว ซึ่ง ตั้งใจ ไว้ว่าจะไปชมวัดเก่า ๆ ในตัวเมือง พลางทำให้นึกถึงเพื่อน คนสุพรรณ น่าจะรู้ว่า ที่เมืองนี้มีวัดอะไร น่าสนใจบ้าง หลังจากที่โทรศัพท์ สอบถาม เส้นทางกันพักใหญ่ ก็ได้ความว่า มี วัดชื่อ วัดหน่อพุทธางกูร มีภาพจิตรกรรมฝาผนัง น่าสนใจ ฉันจึงไม่รีรอ ที่จะเลือกไปชมวัดนี้ เป็นวัดแรก ตามคำแนะนำของสหายเก่านั่นเอง

เส้นทาง ลดเลี้ยวสักหน่อย ผ่านคูเมืองเก่า นำฉันมาสู่ วัด หน่อพุทธางกูร ในที่สุด แต่ก็ยังอดสงสัยไม่ได้ เพราะ สถาพวัดนั้น แตกต่าง จากที่เพื่อนได้บรรยายมาอย่างสิ้นเชิง จึงต้องไปเรียนถาม พระสงฆ์ ได้ความว่า ภาพจิตรกรรม นั้น อยู่ในโบสถ์ เก่า ด้านหลังวัด ฉันจึงไม่รีรอที่จะ ไปชมในทันที แต่ก็ต้องแปลกใจ เพราะ โบสถ์ ที่ได้เห็นนั้น อยู่ในสภาพ ที่ชำรุดอย่างมาก แต่ก็ยังไม่ได้สนใจเพราะ ที่เพื่อน แนะนำมานั้น คือ ภาพจิตรกรรมภายใน จึง รีบเข้าไปภายในโบสถ์ก่อน

  

ทศชาติชาดก ตอนพระมหาชนก และ ภาพ สถาปัตยกรรมแบบจีน ที่สอดแทรกอยู่มากมาย

เมื่อเข้ามาภายใน โบสถ์แล้ว ฉันก็เริ่มมองไปรอบ เพื่อที่จะหาคำตอบให้ได้ว่า ภาพ จิตรกรรม เขียน หรือ วาด เพื่อสื่อถึงอะไร เพราะ ไม่เคยเห็นภาพ ที่แปลกตา เช่นนี้มาก่อน บางรูปมี ภาพ อาคาร หลังคาแบบ จีน และผู้คนหน้าตาคล้ายคนจีนมากมาย จนมาได้คำตอบ ในภาพ ของ พระมหาชนก แสดง ว่า ทั้งหมด นี้ คือ ทศชาติชาดกนั่น เอง จากนั้น ฉันจึงเริ่มดูรู้เรื่องขึ้นมาก เนื่อง จาก ภาพทั้ง หมดมีการสอดแทรก เอา สภาพความเป็นอยู่ ของคนธรรมดาเข้าไปมากมาย จึง ทำให้มีรายละเอียด และ ลูกเล่นมากมาย ซ่อนอยู่ ขณะ ฉันเพลิดเพลิน กับการชม ภาพนั้น ก็มีเสียงทักขึ้น อย่างเรียบๆ มาจากไหนหละ โยม ! มาจาก กรุงเทพฯ คะ ฉันตอบ และ ยังได้พูดคุย กับพระรูปนั้น เพิ่มเติม ได้ความว่า ท่านคือเจ้าอาวาส วัดนี้ ฉันยังถามถึง รายละเอียด อีกมากมาย เกี่ยวกับ อุโบสถ หลังนี้ ได้ความว่า อุโบสถหลัง นี้น่าจะสร้างขึ้นในสมัย อยุธยาตอนปลาย เนื่อง จาก เป็นอุโบสถ แบบ แอ่นท้องสำเภา นั่นเอง ส่วนของภาพ จิตรกรรมฝาผนัง ภายในนั้น เขียนโดย ช่าง ชาวลาว ที่เป็นช่างหลวง ซึ่งสันนิษฐานว่าจะเขียนขึ้น ในช่วงของ สมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ซึ่ง เป็นยุคสมัยที่มีชาวจีน และ ลาว มากมาย ในบางกอก ชาวจีนเข้ามาค้าขาย ส่วนชาวลาว มาจาก การที่เจ้าอนุวงศ์ เวียงจันทน์ ยกทัพเข้ามา แล้วได้กวาดต้อน ผู้คนชาวลาวมาด้วย ช่างที่เขียนภาพ จิตรกรรมนี้ น่าจะ ถูกกวาดต้อนมาในช่วงนี้เช่นกัน และยังสันนิษฐานว่า เป็นผู้เขียนภาพ จิตรกรรมใน วัดสุทัศน์ และ วัดพระแก้วด้วย แล้วเหตุใดจึงมาเขียนภาพที่ จ.สุพรรณได้ ฉันถามเจ้าอาวาส ด้วยน้ำเสียงสงสัย คำตอบคือ ช่างผู้นั้น น่าจะมาตามหาญาติ มิตรชาวลาว ที่สุพรรณบุรี นี้ เพราะ ในบริเวณนี้ ก็ยังมีชาวลาว อาศัย อยู่จนทุกวันนี้


  
ทศชาติชาดก ตอน พระเวสสันดร เห็นภาพชูชก และ ภาพสตรี ถือเครื่องดนตรีของชาวลาว

ฉันเพลินเพลินชมจิตรกรรม อยู่นาน กวาดสายตามองไปรอบๆ แล้วพลางก็นึกในใจ ที่นี่ทรุดโทรเกินไปแล้ว พื้น อุโบสถ ทรุดตัวมาก ชาย กำแพง แนวล่าง ชื้น และ ทำให้ภาพเขียนขึ้นรา หลุดลอก ฝ้าเพดาน ไม่อาจต้านทานแรงฝน ได้ จึงได้เรียน ถาม เจ้าอาวาส ได้ความว่า ทางกรมศิลปากร นั้น เคยมาบูรณะอยู่ครั้งหนึ่ง แต่ก็ไม่สามารถช่วยอะไรได้มากนัก เนื่องจาก ต้องใช้เงินทุนมาก ในการ ปรับปรุงหลายๆจุด ถึงตรงนี้ฉันว่า คงน่าเสียดายที่ เราจะปล่อยให้สถานที่ซึ่ง คงคุณค่า ทางประวัติศาสตร์ ต้องผุกร่อนตามกาลเวลา หากนักท่องเที่ยวได้มาชม มาสัมผัส คงเป็นการดี ที่จะนำไปบอกต่อ หรืออย่างน้อย ก็อาจเกิดความสนใจ ใน มรดก ทางวัฒนธรรม ของไทยขึ้นมาบ้าง ขนาดช่างที่เขียนภาพเป็นชาวลาว ยังเขียนภาพ ได้วิจิตรงดงาม ถึงแม้ ว่าวัด โบสถ์ หรือ ศาสนสถาน นั้น จะไม่ได้อยู่บนผืนแผ่นดิน บ้านเกิดของเขาเอง ทำไมคนไทย เกิดบนแผ่นดินไทย ยังไม่เล็งเห็น ความสำคัญของคุณค่าเหล่านี้ ฉันเดินออกมาด้านนอก โบสถ์ มองดูสภาพ โดยรอบ โบสถ์ นี้แอ่นท้องสำเภา เมื่อเดินวนไปรอบๆ ก็พบว่า ช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ คันทวย ต่างก็อยู่ในสภาพ ที่ชำรุดมาก เมื่อเดินกลับมา ที่ประตูโบสถ์ อีกครั้งก็สังเกตุเห็นได้ว่า ประตูนั้น มีซุ้ม แบบ ซุ้มชฎา ซึ่ง นิยมทำกันในสมัย ร.3 นอกจากนั้น ยังมีภาพ ต้น นารีผล ต้นไม้ใน ตำนาน ที่ออกผลเป็นสตรี อีกด้วย ฉันเอง เดินทางท่องเที่ยว จนเกือบทั่วประเทศ ก็พึ่งจะได้ชม ภาพ ของ ต้นนารีผล เป็นครั้งแรก ที่นี่คะ อีกด้าน เป็นรอยร่าง เส้น สีดำมากมาย ซึ่งรอยร่างเส้น เหล่านี้ รอการลงสี เพื่อเติมเต็ม ความสวยงาม อีกที


ช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ อยู่ในสภาพชำรุด รอการบูรณะ

อุโบสถมี แนวผนังใต้ระเบียงปูน ชื้น และร่อน หมดแล้ว

เหลือบมองดูเข็มนาฬิกา ก็ต้องตกใจ เพราะได้เวลาที่ต้อง เดินทาง ต่อ เสียแล้วจึงต้องอำลา วัดหน่อพุทธางกูร ไปทิ้งไว้แต่ ความทรงจำ ส่วนสิ่งที่ฉันได้กลับมา คือความตั้งใจคะ ความตั้งใจ ที่จะบอก และ แนะนำคนอื่นให้ไปเยี่ยมชมที่นี บ้าง เผื่อว่าสักวัน พอคนมาเที่ยวมากๆเข้า จะมีใครเล็งเห็นความสำคัญ ก็จะมีงบให้กรมศิลปากรได้บูรณะ ต่อไป