คุ้มขันโตก จ.เชียงใหม่ Khum Khantoke

่าบริการ 1 มกราคม 2563  – 31 ตุลาคม 2563
อาหารขันโตกพร้อมการแสดง   ( 19.00 – 21.00 น.)     การแสดงเริ่ม 19.45 น.

เกี่ยวกับการสำรองบริการ

การใช้บริการ ที่ คุ้มขันโตก ท่านควรทำการสำรองที่นั่ง ล่วงหน้า เพื่อไม่ให้เสียโอกาส และ เวลา เนื่องจากในแต่ละวัน มีนักท่องเที่ยวจำนวนมาก เข้าใช้บริการ ทั้งนักท่องเที่ยวที่เดินทางส่วนตัว และ เดินทางเป็นคณะทัวร์

จึงส่งผลให้ ที่นั่ง คุ้มขันโตก เต็มอย่างรวดเร็ว

อัตราค่าบริการ

ผู้ใหญ่ อาหารปกติ , อาหารเจ

(สำหรับอาหารฮาลาล เพิ่มท่านละ

50 บาท )

470

เด็ก
ความสูงไม่เกิน 120 ซ.ม.

380

บริการรถรับ – ส่ง ในเขตเมืองเชียงใหม่

100

จองคุ้มขันโตก 02 758 5154-6


หมายเหตุ

– อัตราข้างต้นไม่รวมน้ำดื่ม

– ค่าบริการ น้ำเปล่า เติมไม่อั้น 20 บาท ต่อท่าน

– ค่าบริการ น้ำอัดลม เติมไม่อั้น อาทิ โค๊ก แฟนต้า สไปรท์ ไม่รวม โซดา 50 บาท ต่อท่าน

– ค่าบริการ น้ำอัดลม เติมไม่อั้น อาทิ โค๊ก แฟนต้า สไปรท์ รวม โซดา 80 บาท ต่อท่าน – น้ำเปล่า ขวดละ 30 บาท น้ำอัดลม ขวดละ 50  บาท (อัตราโดยประมาณ) – อาหาร 1 โตก มี 8 อย่าง เติมได้ตลอด

– ที่นั่งมี 2 แบบ 2 โซน แบบห้อยขาและนั่งกับพื้น

พื้นที่รับส่ง

– เกาะเมืองเชียงใหม่ – ถนนนิมมานเหมินทร์ – ถนนช้างคลาน – ไนท์บาร์ซ่า

– เส้นทางอื่นๆโปรดสอบถาม

เป็นเรือนไทยภาคเหนือที่วิจิตรตระการตา และตกแต่งแบบล้านนา แวดล้อมไปด้วยวัฒนธรรม ตลอดจนศิลปะ และหัตถกรรมล้านนา ตั้งอยู่บนริมฝั่งแม่น้ำเก่า อันเงียบสงบ รอบนอกเมืองเชียงใหม่ มีฉากหลังเป็นดอยสุเทพ และมีการออกแบบทางสถาปัตยกรรมรวมถึงการตกแต่งที่วิจิตรตระการตา สามารถสะท้อนถึงบรรยากาศความเป็นล้านนาได้เป็นอย่างดี ขอเชิญท่านมาสัมผัสประสบการณ์การรับประทานอาหารแบบล้านนาที่ไม่ เหมือนใคร ท่านจะได้รับการบริการตามแบบฉบับจาวเหนือ ( เจ้า )

อย่างแท้จริง ด้วยการเสิร์ฟแบบขันโตก และนั่งทานกับพื้น

ผู้รับประทานจะต้องนั่งล้อมรอบโตกและหยิบอาหารแต่ละอย่างกิน

พร้อมกับนั่งชมการแสดง และการเล่นละครรำพื้นบ้าน จิตวิญญาณของชาวล้านนาได้ถูกปลุกขึ้นมาอีกครั้งที่คุ้มขันโตก แขกทุกคนจะได้มีประสบการณ์สัมผัสกับวิถีล้านนา และได้เพลิดเพลินกับการต้อนรับและการแสดงในระหว่างที่รับประทานอาหาร ขันโตกเป็นอาหารประจำภาคเหนือของไทย ปกติแล้วขันจะหมายถึง ชาม และโตกก็จะแปลว่าโต๊ะตัวเล็ก เตี้ย ๆ ที่วางกับพื้น ตามปกติจะทำจากหวาย หรือ เครื่องไม้ที่เคลือบแล็คเกอร์ ผู้กินจะนั่งกับพื้นรอบ ๆ โต๊ะ และแบ่งกันกิน นี่คือที่มาว่าทำไมการกินอาหารแบบนี้จึงได้เรียกว่าขันโตก เมนูอาหารปกติจะประกอบด้วย แกงฮังเล น้ำพริกอ่อง แคบหมู ซึ่งทั้งหมดนี้จะกินกับข้าวเหนียว ซึ่งมีหลายชนิดที่คุ้มขันโตกก็ยังมีอาหารอย่างอื่นให้เลือกอีกมากมาย พวกอาหารหวานเบาๆ ก็มีได้แก่ ข้าวเกรียบ หรือ ผลไม้สด กาแฟ หรือชา พวกรำพื้นเมืองและการแสดงละครพื้นบ้านก็ เช่น โขน ตี่ กลองสะบัดไช เซิ้งกะโป๋ นักแสดงและนักดนตรีทุกคนมาจากวิทยาลัยนาฏศิลป์เชียงใหม่ ไม่เฉพาะแขกเท่านั้นที่มีโอกาสชมการรำ แต่ยังมีโอกาสรำเองด้วย

มีการสอนการแสดงแต่ละแบบให้แขกด้วยทั้งการก้าวเท้า การเคลื่อนไหวของมือในการรำวง โดยผู้สอนก็คือนักแสดงนั่นเอง สุดท้ายผู้แสดงก็จะสาธิตการรำวง และเชิญแขกร่วมรำวงด้วย ท้ายสุดนี้จะมีการจุดโคมเพื่อปลดปล่อยความเศร้าโศกก่อนกลับบ้านด้วย

ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมอาหาร และการแสดงล้านนา คุ้มขันโตกแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ ที่สะท้อนบุคลิกภาพของความเป็นล้านนาได้อย่างชัดเจน อาทิ วัฒนธรรมการ รับประทานอาหารพื้นเมือง ในรูปแบบขันโตก ลิ้มรสอาหารพื้นเมืองที่เน้นส่วนผสมของเครื่องเทศอันเป็นแบบฉบับ ของคนเมือง. ในห้องรับรองเราสามารถรองรับผู้เข้าร่วมงานได้ถึง 600 ท่าน และกลางแจ้งได้ถึง 1000 ท่าน ไม่ว่าคุณจะมา

เป็นหมู่คณะหรือต้องการความเป็นส่วนตัว เราก็ยินดีให้บริการท่านอย่างพิเศษสุดเช่นกัน

 

รายการอาหารขันโตก

อาหารขันโตก-ปกติ
กล้วยทอด ซุปใส แกงฮังเลหมู
ไก่ทอด น้ำพริกหนุ่ม – พร้อมผักลวก น้ำพริกอ่อง
แคปหมู ผัดผักรวม หมี่กรอบ
ข้าวเหนียว -ข้าวสวย ข้าวแต๋น และ ผลไม้รวม กาแฟ -ชา
     
อาหารขันโตก – ฮาลาล
กล้วยทอด ซุปใส แกงฮังเลไก่
ไก่ทอด น้ำพริกหนุ่ม พร้อมผักลวก น้ำพริกอ่องไก่
ฟองเต้าหู้ทอด ผัดผักรวม หมี่กรอบ
ข้าวเหนียว -ข้าวสวย ข้าวแต๋น และ ผลไม้รวม กาแฟ -ชา
     
อาหารขันโตก – มังสวิรัต
กล้วยทอด ซุปใส แกงฮังเลโปรตีนเกษตร
โปรตีนเกษตรทอด น้ำพริกหนุ่ม พร้อมผักลวก น้ำพริกอ่องโปรตีนเกษตร
ฟองเต้าหู้ทอด ผัดผักรวม หมี่กรอบ
ข้าวเหนียวทอด -ข้าวสวย ข้าวแต๋น และ ผลไม้รวม กาแฟ -ชา

การแสดงต่างๆ ภายใน คุ้มขันโตก

ขบวนแห่บูรณคตะบูชาสโตกคำและฟ้อนเล็บ 
ถือเป็นการแสดงการต้อนรับผู้มาเยือน ด้วยความเป็นมิตร และยินดียิ่ง

นกกิงกะลากับตัวโต


เป็นศิลปะการร่ายรำของชาวไทยใหญ่ แสดงถึงเรื่องราวของสัตว์ที่เล่าขานมาแต่โบราณ

กลองสะบัดชัย


เป็นการแสดงเพื่อเสริมสร้างกำลังใจ ให้แก่ไพร่พลในยามมีศึกสงคราม ด้วยลีลาการตีที่โลดโผน

เจ้าดารารัศมี


เพลงที่ใช้ประกอบการแสดงชุดนี้เป็นการรำลึกถึงพระราชชายาเเจ้าดารารัศมีที่ทรงเป็นขัตติยนารีศรีล้านนา
และทรงเป็นแบบอย่างในเรื่องการอนุรักษ์วัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมอันดีงามของล้านนา

หนุมานจับนางสุพรรณมัจฉา หรือ จับนาง 


เป็นการแสดงโขน ซึ่งถือเป็นนาฏศิลป์ชั้นสูง แต่เดิมนิยมเล่นเฉพาะในพระราชวังเท่านั้น
โดยมีหนุมานเป็นตัวละครเอกในเรื่องรามเกียรติ์ ได้รับอิทธิพลมาจากวรรณกรรมของอินเดีย เรื่อง “รามายณะ”

ระบำชาวเขา 4 เผ่า


ดัดแปลงมาจากการละเล่นในวันปีใหม่ของชาวเขาเผ่าต่าง ๆ ได้แก่ ลีซอ เย้า อาข่า และแม้ว มีลีลาที่เต็มไปด้วยชีวิตชีวา
และความสุขสดใส ของชนกลุ่มน้อยที่อาศัยอยู่ในพื้นดินล้านนา

นาฏยรณสยาม


เป็นการแสดงที่แสดงให้เห็นถึงศิลปะการต่อสู้ของชาวไทยที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณและมีการสืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน
ซึ่งถือว่าเป็นเอกลักษณ์ของชาติไทยจนเป็นที่รู้จักไปทั่วโลก

เซิ้งกะโป๋  
คำว่า กะโป๋ หมายถึง กะลา ในภาษาอีสาน เซิ้งกะโป๋ เป็นการหยอกล้อกันระหว่างคนหนุ่มสาว
โดยใช้กะลาเป็นเครื่องประกอบจังหวะ ด้วยลีลาที่สนุกสนานและเร้าใจ

รำวง


มีขึ้นในชนบทภาคกลาง ช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 ไม่มีพิธีการที่ซับซ้อน
แต่ฉาบไว้ด้วยเอกลักษณ์ที่บริสุทธิ์ แจ่มใสของความเป็นท้องถิ่น

 

 

 

พิกัด GPS – 18.799333, 99.025838