นวลเจ้าพี่เอย ……… เสียงเพลงนี้หลายๆท่านคงจะเคยได้ยินกัน เป็นอย่างดี เนื่องจากสถานที่เที่ยวในวันนี้ จะมีความเกี่ยวข้องกับ บทเพลงๆนี้ ผมจึงขอเกริ่นด้วยบทเพลงเสียหน่อย วันนี้ผมจะพาทุกท่านไปเที่ยว สถานที่ทางประวัติศาสตร์ ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับ พันท้ายนรสิงห์ ครับ ทุกๆท่านคงทราบดีว่า พันท้ายนรสิงห์ เป็น นายท้ายของเรือพระที่นั่ง ของพระเจ้าเสือ ซึ่งตามประวัติ นั้นได้คัดท้ายเรือ ไป โดนกิ่งไม้ ที่บริเวณ ปากคลองโคกขาม ทำให้โขนเรือ ( ส่วนหัวของเรือ ) ของเรือพระที่นั่งเอกชัยหัก จึงถวาย ชีวิต เพื่อชดใช้ความผิด ตามโทษ ที่ได้กระทำ ทั้งที่พระเจ้า เสือเอง มิได้ ต้องการที่จะประหารชีวิต พันท้ายนรสิงห์ ก็ตาม แต่จำต้องฝืนใจ เพื่อมิให้เป็นเยี่ยงอย่างสืบไป
เท่าที่ได้ท้าวความมา ทุกท่านคงจะได้ระลึกถึงเรื่องราวที่เกิดขึ้นได้บ้าง ในส่วนของสถานที่เที่ยวที่จะแนะนำเป็นหลักในวันนี้ก็คือ ศาลพันท้ายนรสิงห์ ซึ่งหลายท่านคงจะสับสนกันอยู่บ้างว่า แท้จริงแล้วอยู่ที่ใด เพราะที่นับได้อย่างแน่นอนอย่างต่ำก็มีประมาณ 4 แห่ง ด้วยกัน นอกจากนั้นยังมีวัดพันท้ายนรสิงห์อีก ซึ่งตามที่ได้ศึกษากันมานั้น ท่านพันท้ายนรสิงห์ได้ถูกประหารชีวิต ณ บริเวณปากคลองโคกขามและได้ตั้งศาลขึ้นบริเวณนั้น
ผมจึงได้เลือกที่จะเดินทางไปยังวัดโคกขาม ก่อนซึ่งสามารถเดินทางเข้าจากบริเวณตัวเมืองมหาชัยได้ง่าย เมื่อมาถึงวัดโคกขามแล้ว ขับรถต่อมาอีกนิดก็จะพบป้ายขนาดใหญ่ ที่บอกเราว่าคือ ศาลพันท้ายนรสิงห์ ก็เข้าไปตามทางไม่ลึกนัก ศาลของพันท้ายนรสิงห์ ศาลนี้จะขนาดใหญ่ไม่มาก อยู่บริเวณปากคลองโคกขามซึ่งขนาดไม่ใหญ่มากนัก มีทางขึ้นเรือในอดีตให้เราได้เห็น สังเกตได้จากป้ายชื่อศาลทำด้วยไม้ หันหน้าออกทางคลอง บริเวณนี้ก็จะเห็น วิถีชีวิตของชาวบ้าน ที่อาศัยอยู่ริมน้ำอยู่บ้าง ต้นจากที่ขึ้นอยู่เต็มข้างคลองทำให้เรารู้ว่า แถบนี้คือ 1 ใน 3 ของจังหวัดที่ขึ้นชื่อต้นด้วยคำว่า สมุทรแน่นอน นับเป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่นในแถบนี้
![]()
สภาพบริเวณ ทางเข้า ของศาลพันท้ายนรสิงห์ บริเวณ ใกล้ๆ วัดโคกขาม
ภายในศาล มีขนาดไม่ใหญ่มากนัก แต่ ชาวบ้านก็ให้ความเคารพนับถือ
ป้ายด้านหน้าศาล หันออกสู่ คลอง
หลังจากที่สักการะศาลพันท้ายนรสิงห์เรียบร้อย ผมก็เดินทางต่อสู่ศาลพันท้ายนรสิงห์อีกศาลหนึ่ง ถ้าจะถามผมว่าทำไม่ถึงไปแต่ศาลพันท้ายนรสิงห์ ก็เพราะผมมีจุดมุ่งหมายที่จะค้นหาความจริงว่าศาลใดคือสถานที่ดั้งเดิมแต่โบราณ ศาลอีกศาลที่ผมกล่าวถึง อยู่ห่างออกไปไม่ไกลนัก ซึ่งเส้นทางจะสามารถลัดเลาะถึงกันได้ทั้งหมด ที่ศาลนี้จะมีขนาดใหญ่กว่ากันมาก และ มีคนมาสักการะกัน เนืองแน่น พอสมควร ศาลนี้จะอยู่ใกล้กับ วัด สหกรณ์ บริเวณ ศาลนี้ มี หลักประหาร ตั้งอยู่ด้วย หลายๆ ท่านก็คงจะสงสัยเหมือนผม ว่า ที่ไหนกันแน่ คือสถานที่ที่ เรือพระที่นั่ง ได้เกิดเหตุ เพราะ ที่บริเวณ ศาลนี้ ก็ เป็นบริเวณคลองโคกขาม เช่นกัน เพราะคลองโคกขาม นั้น มีเส้นสาย ลัดเลาะหลายเส้นทาง แต่ปัจจุบันนั้น ร่องรอยคลองเก่าได้ หายไปหมดแล้ว เพราะ ชาวบ้านได้รุกล้ำคลองเสียหมด เนื่องจากคลอง โคกขามนั้น มีขนาดไม่ใหญ่มากนัก จึงง่ายต่อการรุกล้ำ ของ ชาวบ้าน รวมถึงถนนที่ตัดขึ้นใหม่อีกด้วย ทำให้เราไม่สามารถคาดเดาได้ว่า แต่เดิม นั้น คลองโคกขามมีเส้นทางอย่างไร
บริเวณศาลนี้ มีจุดน่าสนใจอื่นๆ อีกมากมาย นอกจาก ศาลของ พันท้ายนรสิงห์ แล้ว ยังมีเส้นทางล่องเรืออีกด้วย ซึ่งเป็นเรือหางยาว สามารถล่องออกปากอ่าวได้ และ สามารถ ล่องเรือ ไปเที่ยวชม กับ หลักเขตกรุงเทพ ที่เขตบางขุนเทียนได้อีกด้วย เพราะลำคลอง จะ ลัดเลาะ ตามเรือกสวน เชื่อมถึงกันหมด นับว่า เป็นเส้นทางการท่องเที่ยวที่น่าสนใจอย่างยิ่ง เพราะเราได้ศึกษา ถึง ประวัติศาสตร์ และ เที่ยวธรรมชาติ ในคราวเดียวกัน
![]()
บริเวณศาล และ คลองโคกขามอีกช่วงหนึ่ง ซึ่งเล็กกว่ามาก
รูป หล่อของ พันท้ายนรสิงห์ ตั้งอยู่ในศาลาหินอ่อน
ที่นี่คือแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรด้วยนะครับ
ผมได้คัดลอกประวัติของ พันท้ายนรสิงห์ มาให้ทุกท่านได้อ่านกันด้วยครับ
พันท้ายนรสิงห์
โดย ทวีศักดิ์ เสนาณรงค์
อดีตอธิบดีกรมศิลปากร พันท้ายนรสิงห์ เป็นนายท้ายเรือพระที่นั่งเอกไชยอยู่ในรัชสมัยพระบามสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 ( พระเจ้าเสือ ) ได้รับยกย่องว่าเป็นผู้มีความซื่อสัตย์สุจริต จงรักภักดีและรักษาระเบียบวินัยยิ่งชีวิต สมควรเป็นแบบอย่างแก่อนุชนรุ่นหลังต่อไปเรื่องราวของพันท้ายนรสิงห์ปรากฎอยู่ในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับต่าง ๆ เนื้อความเป็นไปในแบบเดียวกัน ได้กล่าวถึงเหตุการณ์ใน พ.ศ. 2247 สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 ประพาสปากน้ำสาครบุรี ( ปัจจุบันคือจังหวัดสมุทรสาคร ) เพื่อทรงเบ็ด ด้วยเรือพระที่นั่งเอกไชย มีพันท้ายนรสิงห์เป็นนายท้าย ตามหลักฐานชุมนุมพระนิพนธ์สมเด้๗พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยบาดำรงราชานุภาพทรง บันทึกไว้ว่าพันท้ายนรสิงห์เป็นชาวบ้าน นรสิงห์แขวงเมืองอ่างทอง และเป็นที่โปรดปรานของพระศรีสรรเพชญ์ที่ 8 จนทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้รับราชการรับใช้พระองค์อย่างใกล้ชิดการเสด็จประพาสปากน้ำสาครบุรีครั้งนี้ เมื่อเรือพระที่นั่งไปถึงตำบลโคกขาม คลองในบริเวณดังกล่าวมีความคดเคี้ยวมาก พันท้ายนรสิงห์พยายามคัดท้ายเรือพระที่นั่งอย่างระมัดระวัง แต่ไม่อาจหลบเลี่ยงอุบัติเหตูได้ หัวเรือพระที่นั่งชนกิ่งไม้ใหญ่หักตกลงไปในน้ำ พันท้ายนรสิงห์รู้โทษดีว่าความผิดครั้งนี้ ถึงประหารชีวิตตามโบราณราชประเพณี ซึ่งกำหนดว่าถ้าผู่ใดถือท้ายเรือพระที่นั่งให้หัวเรือพระที่นั่งหักผู้นั้นหมายถึง มรณะโทษให้ตัดศรีษะเสียจึงกราบทูลพระกรุณาน้อมรับโทษตามพระราชประเพณีสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 ทรงพิจารณาเห็นว่าอุบัติเหตุครั้งนี้เป็นการสุดวิสัย มิใช่ความประมาท จึงพระราชทานพระอภัยโทษให้ แต่พันท้ายนรสิงห์กราบบังคมยืนยันขอให้ตัดศรีษะตนเพื่อรักษาขนบธรรมเนียมพระราชกำหนดกฎหมาย เพื่อป้องกันมิให้ผู้ใดครหาติเตียนพระเข้าอยู่หัวทรงละลเยพระราชกำหนดของแผ่นดินและเพื่อมิให้เป็นเยี่งอย่างสืบไป พระองค์ทรงโปรดให้ฝีพายทั้งปวงให้ปั้นมูลดินเป็นพันท้ายนรสิงห์แล้วให้ตัดศรีษะรูปดินนั้นเป็นการทดแทนกัน แต่พันท้ายนรสิงห์ยังบังคมกราบทูลยืนยันขอให้ประหารตน แม้สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 จะทรงอาลัยรักน้ำใจพันท้ายนรสิงห์เพียงใด ก็ทรงจำพระทัยปฏิบัติตามพระราชกำหนดดำรัสสั่งให้เพชรฆาตประหารพันท้ายนรสิงห์เสียแล้ว โปรดให้ตั้งศาลสูงประมาณเพียงตานำศรีษะพันท้ายนรสิงห์กับหัวเรือพระที่นั่งเอกไชยซึ่งหักนั้น ขึ้นพลีกรรมไว้ด้วยกันบนศาล ภายหลังเหตุการณ์ สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 ทรงโปรดให้นำศพพันท้ายนรสิงห์มาแต่งกายพระราชทานเพลิงศพ และพระราชทานสิ่งของ เงินทอง แก่บุตรภรรยาพันท้ายนรสิงห์เป็นจำนวนมากและวทรงพระดำริว่าคลองโคกขามคดเคี้ยวนักไม่สะดวกต่อการเดินเรือ บางครั้งชาวเมืองต่ฃ้องเดินเรืออ้มเป็นที่ลำบากยิ่ง สมควรจะขุดลัดให้ตรง ทั้งนี้เพื่อเป็นการรำลึกถึงพันท้ายนรสิงห์ข้าหลวงเดิมซึ่งเป็นคนซื่อสัตย์ มั่นคง ยอมเสียสละชีวิตโดยไม่ยอมให้เสียพระราชประเพณี และจะนำความเสื่อมเสียมาให้พระมหากษัตริย์ จึงมีพระราชโองการตรัสสั่งสมุหนายกให้กะเกณฑ์เลกหัวเมือง จำนวนสามหมื่นคนไปขุดฃอลโคกขามให้ลัดตรงกำหนดให้ลึก 6 ศอก ปากคลองกว้าง 8 วา พื้นคลองกว้าง 5 วา ให้พระราชสงครามเป็นแม่กลองอำนวยการขุด สมเด็จพระเจ้าบรมเธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพกล่าวไว้ในชุมนุมพระนิพนธ์ว่า พระราชสงครามให้ขุดแต่ปากคลองลำน้ำท่าจีน มาจนถึงตำบลโคกขามแต่การขุดค้างอยู่มาเสร็จลงในรัชกาลต่อมา ปรากฏเป็นคลองตรงและกว้างใหญ่เรียกว่า คลองมหาชัย อยู่ตราบทุกวันนี้
เป็นอย่างไรบ้างครับ เมื่อมาถึง ตอนนี้ ผมได้เปลี่ยนใจที่จะค้นหาแล้วครับ ว่าศาลพันท้ายนรสิงห์ ที่ใด คือบริเวณที่เกิด เหตุขึ้นจริง เพราะศาลของ พันท้ายนรสิงห์ นั้น ล้วนสร้างจากความ ศรัทธา และ ความนับถือ จึงมีศาลพันท้ายนรสิงห์ มากมาย ในจ.สมุทรสาคร นี้ แต่ความดีของท่านต่างหากครับที่เป็นเหตุ ให้ผู้คนศรัทธา และ นับถือ ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็นที่ใด ขอเพียงให้ คนที่มาสักการะยึดหลัก ความดีของท่านมาปฏบัติก็ถือว่า เป็นสิ่งประเสริฐสุดแล้ว
วันนี้ผมต้องเดินทางต่อไปที่เที่ยวอื่นๆอีกครับ คงต้องขอลาไปก่อนครับ สวัสดีครับ