สวัสดีครับนายเกริกเกียรติ กลับมานำเที่ยวอีกเช่นเคย วันนี้เราไปท่องเที่ยวโบราณสถานใกล้ๆ กรุงเทพกันบ้าง ซึ่งในความรู้สึกของผมนั้น ที่นี่ก็มีความน่าสนใจไม่น้อย เพราะมีอายุเก่าแก่ และ ยังสามารถเป็นต้นแบบการศึกษา ปราสาทหิน ได้อีกทางหนึ่งด้วย ซึ่ง ที่แห่งนี้คือ โบราณสถานสระมรกต ซึ่ง ตั้ง จ. ปราจีนบุรี อ. ศรีมโหสถ
ไม่ไกล้ ไม่ไกล จาก กรุงเทพฯ มากนั้นเอง
บริเวณรอยพระพุทธบาท คู่
รอยพระพุทธบาทคู่ ที่ใหญ่ที่สุดในไทย เห็นตรา ธรรมจักร แสดงถึง นัยของล้อเกวียน ที่นำธรรมมะมาสู่ชุมชน
ผมเดินทางมาถึงที่นี่ในช่วง สายๆ ของวันอาทิตย์ ผู้คนที่มาท่องเที่ยวไม่มากนัก เมื่อมาถึงแล้ว ก็เริ่มเดินเก็บภาพไปเรื่อยๆ โบราณสถานสระมรกต นั้น มีความโดดเด่นและ น่าสนใจ ที่ รอยพระพุทธบาท คู่ เก่าแก่ สมัย ทวาราวดี ซึ่งนับเป็นยุคแรก น่าศึกษา ในประวัติศาสตร์ไทย ซึ่ง รอยพระพุทธบาท ที่ว่านี้ก็นับว่ามีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย อีกด้วย รอยพระพุทธบาทนั้น ประดิษฐาน ลึกลงไปในดินสักหน่อย ปัจจุบัน มีการสร้าง หลังคา ครอบเอาไว้ อย่างถาวร ซึ่งประชาชน นิยม มากราบไหว้ รอยพระพุทธบาท แห่งนี้เป็นอย่างมาก ในบริเวณเดียวกันมี ร่องรอย ที่ยังหลงเหลือ ของปราสาทขอม ซึ่ง เป็นอีกสึ่งหนึ่ง ที่น่าสนใจ เพราะ ปราสาท หลังนี้นั้น สันนิษฐานว่า ไม่ได้มีความสำคัญ หรือเกี่ยวข้องกับการประดิษฐาน เทวรูป ของเทพใน ฮินดูมากนัก
หากแต่ใช้ในการเป็น อโรคยาศาล หรือ โรงพยาบาล นั่นเอง
มองจากด้านด้านหลังของปราสาท และ บริเวณ ฐานของ องค์ ปรางค์ประธานเดิม
หากเราจะศึกษา ร่องรอยของอโรคยาศาลนั้น คงต้อง เดินทางกันไกลไป ทางภาคอิสาน แต่ ที่นี่นับว่า ใกล้เมืองที่สุด แล้วครับ รูปแบบของ อโรคยาศาล นั้น สันนิษฐาน ว่า เริ่มมีการก่อสร้างในสมัย พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ซึ่งเป็น สมัย บายน เป็นยุคก่อนการล่มสลายของ อาณาจักรขอม นั่นเอง ซึ่งจากการดูรูปแบบวางผังของ ตัวอาคาร แล้ว นั้น จะตรงตามลักษณะ ของ อโรคยาศาลทั้งสิ้น กล่าวคือ ก่อสร้างด้วย ศิลาแลง ( นิยมใช้ในสมัย บายน ) และตั้งอยู่ใกล้สระน้ำใหญ่ ก่อนเข้าสู่ตัวอาคาร นั้น จะมีบ่อน้ำขนาดเล็ก อยู่ด้านหน้า ซึ่ง ปัจจุบัน ชาวบ้านเชื่อว่าเป็นบ่อน้ำ ศักดิ์สิทธิ์ ในกลุ่มอาคารเดิม จะมี ปรางค์ ประธาน ซึ่ง จะประดิษฐาน พระโพธิ์สัตว์ไภสัชยคุรุไวทูรย์ประภา ( พระผู้เป็นแสงสว่างแห่ง การ แพทย์ ) ซึ่ง ในปัจจุบัน เราจะเรียกกัน ติดปากว่า พระกริ่ง นั่นเอง ด้านข้างสองข้างของ จะมีห้องสำหรับเก็บ ตำรา หรือ คัมภีร์ รักษาโรค อยู่ด้วย ในอดีตนั้น จะมี แพทย์ผู้รักษา พยาบาล ประอยู่ด้วย ไม่น้อยกว่า 3 คน เพื่อให้คอยรักษา คนที่เดินทาง ผ่านไปมา และ คนในชุมชม ใกล้เคียงนั้น ๆ ดังนั้น รูปแบบของอโรคยาศาล จึง มีมากมาย ตามเส้นทาง ที่อาณาจักร ขอม ขยายไป และจัดตั้ง อยู่ในเส้นทางต่าง ทั่วทุกทิศ หากเราใช้การสังเกตุ ให้ดีๆ จะเห็นได้ว่า สิ่งที่หลงเหลืออยู่นั้น เป็นเพียงเศษเสี้ยว ของความ รุ่งเรือง ในอดีต ของ อาณาจักรขอม ดังจะเห็นได้จาก เศษ ของ ศิลาแลง รูปต่างๆ เช่น พญานาค เสานางเรียง ซึ่ง ปัจจุบัน มิได้ตั้งอยู่ ในที่ที่ควรเป็น และยังมีสภาพ ชำรุดมากอีกด้วย แต่เดิมนั้น โบราณสถาน สระมรกต นั้น มีสภาพสมบูรณ์ กว่านี้มาก แต่เพราะ ความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ จึงมีการนำ ชิ้นส่วน ต่างๆ ของ ปราสาท ไปใช้ในการต่อเติมวัดวาอาราม ในบริเวณใกล้เคียง ซึ่ง ผมก็ได้ตามไปชม ให้เห็นกับตา ก็ปรากฏว่า
เป็นจริง อย่างที่ได้ทราบข้อมูลมา นับว่าน่าเสียดายยิ่งนัก
ศิลาแลง รูปร่างแปลกๆ นี้ สันนิษฐานว่าเคยเป็น เศียร พญานาค มาก่อน
เสานางเรียง ที่ยังคงหลงเหลือบ้าง
ขณะที่กำลัง ชมโบราณสถาน อย่างเพลิดเพลิน ก็มีเสียงโทรศัพท์ เข้ามาตามตัวไปทำธุระด่วน น่าเสียดายครับ ที่พึ่งมาถึง ก็ต้องเดินทางกลับเสียแล้ว แต่ถึงอย่างไร ผมเองก็ยังตั้งใจที่จะกลับมาที่นี่อีกอย่างแน่นอนครับ เพราะ ยังมีที่เที่ยวอีกมากมาย ซึ่ง เป็นโบราณสถาน ต่างยุค ต่างสมัย ในเขต อำเภอ ศรีมหาโพธิ์ และ ศรีมโหสถ ของ จังหวัด ปราจีนบุรี เอาไว้คอยติดตาม กันนะครับ สวัสดีครับ