>>> วัดศรีชุม อุทยานประวัติศาสตร์ สุโขทัย

พระ อจนะ สงบนิ่ง สมกับชื่อ ที่แปลว่า” ผู้ไม่หวั่นไหว “

สวัสดีครับ นายเกริกเกียรติ กลับมาพบทุกท่านเช่นเคย วันนี้จะพาทุกท่านไปยังวัด วัดหนึ่ง ซึ่งมีชื่อเสียงพอสมควร ใน อุทยานประวัติศาสตร์ สุโขทัย นอกจาก จะมีวัดใหญ่ๆ อย่าง วัดมหาธาตุ แล้ว วัดศรีชุม ยังนับเป็น วัดที่นักท่องเที่ยว ให้ความสนใจอยู่เสมอ ผมเองก็ชื่นชอบวัดนี้เป็น พิเศษ เพราะ ที่วัดนี้ มีเรื่องราว เล่าขานกันมานาน ว่า พระประธาน ในวิหาร พูดได้ ???

พระอจนะ นั้น แต่เดิมสร้างตาม ความนิยม ของสมัยก่อน ที่นิยม สร้างพระพุทธรูป ขนาดใหญ่ ไว้กลางแจ้ง ก็ คล้ายๆ กับหลวงพ่อโตวัด พนัญเชิง ในสมัย อู่ทอง หรือ หลวงพ่อมงคลบพิตร จ. อยุธยา นั่นเอง

หลังคาส่วนบน ที่เดิมเป็นเครื่องไม้ พังทลายลงมาเสียหมดแล้ว

ขนาดของพระ อจนะ นั้น มีหน้าตัก กว้าง 11.3 เมตร หรือ ประมาณ 5 วา เศษ นับเป็นพระพุทธรูปขนาดใหญ่ องด์หนึ่งเลยก็ว่าได้ เป็นพระพุทธรุป ก่อ อิฐ ถือ ปูน ปาง มารวิชัย ซึ่ง เริ่มนิยมในสมัย สุโขทัย นั่นเอง

พระพุทธรูปปางมารวิชัย

ขอนอกเรื่องเล่าเกร็ดเล็กน้อย แบบชาวบ้านๆ ครับ ที่มาของพระพุทธรูปปาง มารวิชัย นั้น เกี่ยวเนื่องกับ พุทธประวัติ ในตอนที่ พระพุทธเจ้า กำลังจะตรัสรู้ ได้มีกลุ่มพญามาร มาประสงค์ จะขัดขวาง การตรัสรู้ และ กล่าวว่า พระพุทธเจ้า ว่า พระพุทธเจ้า นั้นยังไม่เคย ทำบุญ อุทิศส่วนกุศล ให้ใครเลย เหตุใด จึงจะตรัสรู้ ได้ พระพุทธเจ้า ได้ ฟังดังนั้น แต่เดิมที่อยู่ ในท่าสมาธิ ก็ ได้เปลี่ยนท่า นำมือขวา มาวางที่หน้าตัก แล้ว ชี้นิ้ว ลงที่ดิน ( ดังเป็น ปางมารวิชัย) ปรากฏพระแม่ธรณี มาบีบมวยผม มีน้ำ ไหลออกจากมวยผม ทำให้หมู่พญามารแตกพ่ายตายไป น้ำที่ออกจากมวยผม พระแม่ธรณีนั้น คือน้ำ ที่พระพุทธเจ้า อุทิศกุศลให้พระแม่ธรณี นั่นเอง

สำหรับชื่อของพระ อจนะ นั้นน่าจะ มีความหมาย 2 แบบ คือ 1 . ผู้ไม่หวั่นไหว 2. พระพุทธรูปขนาดใหญ่เคลื่อนย้ายไม่ได้ ( เหตุเพราะอาจเพี้ยนมาจาก คำว่า อัจละ ภาษา บาลีสันสกฤต ) องค์พระที่เห็นในปัจจุบัน ได้รับการปั้นใหม่ทั้ง องค์

มณฑปที่ครอบ ล้อม องค์พระนั้น เป็นส่วนที่สร้างขึ้นใหม่ อาจมีผู้มีจิตศรัทธาสร้างขึ้นก็เป็นได้ มีความกว้าง 32 เมตร สูง 15 เมตร และ ตัวผนัง หนาถึง 3 เมตร ก่อด้วยอิฐ บริเวณ ผนัง มีช่องทางเดิน เข้า ไปได้ ด้าน ซ้ายมือ เป็นอุโมงค์ ขึ้นไปด้านบนหลังองค์พระ ภายในจะมี หินชนวนแกะสลัก เป็นเรื่องราว ประมาณ 50 แผ่น ส่วนอุโมงค์ ด้านขวามือนั้น ว่ากันว่า สามารถ เดินไปยัง เมือง ศรีสัชนาลัย ได้ และ คงเป็นเพราะ ช่องทางเดินนี่แหละ จึงทำให้ พระอจนะ พูดได้ เพราะ เพียงแค่เดินไปแอบในอุโมงค์ แล้ว พูดดังๆ ก็จะได้ยินเสียงเหมือน พระพูดได้แล้ว ซึ่ง ก็ปรากฏในพงศาวดาร ของพระนเรศวร ซึ่ง ท่านได้มาทำพิธี หลั่งน้ำ สิโณทก ที่นี่

 

ช่องอุโมงค์ บริเวณผนัง มณฑป และ ช่วงผนังบริเวณพระชานุ ขององค์พระ เว้าหลบเข้าไป

สิ่งที่เราจะสังเกตุ เห็นได้ง่ายๆว่า ตัวมณฑปนั้น สร้างขึ้นทีหลังเพราะ ผนังบริเวณพระชานุ (เข่า) ขององค์พระ นั้น เว้าหลบเข้าไปเนื่องจาก องค์พระมีขนาดใหญ่ กว่า มณฑปซึ่ง หลายคนอาจสงสัยว่า เหตุใด จึงต้องเว้าหลบด้วย ก็สร้าง มณฑป ให้ใหญ่ กว่าองค์พระมากๆเข้าไว้ เหตุก็เป็นเพราะ ส่วนหลังคา ของมณฑป นั้นเป็นเครื่องไม้ ไม้คาน น่าจะมีความยาวไม่พอ นั่นเอง และ ด้วยเหตุที่เมื่อ ก่อนนั้น การก่อสร้างอาคารต่างๆ จะไม่มีช่องหน้าต่าง ก็เป็นเพราะ ตัวอาคารนั้น ทำหน้าที่รองรับน้ำหนัก ทั้งหมด ของหลังคา ซึ่ง น้ำหนัก จะกดลงที่ผนังนั่นเอง

นอกจากส่วนของ มณฑป และ พระ อจนะ แล้ว ส่วนอื่นๆ ก็เห็นจะเป็น อุโบสถ ซึ่งอยู่ด้านหน้า ของมณฑป นั่นเอง แต่ก็อยู่ในสภาพ ทรุดโทรม ปรักหักพัง ไปหมดแล้วตัวโบสถ์ ในสมัยสุโขทัย นั้น นิยม ก่อฐานด้วยอิฐ และ เสามักทำด้วย ศิลาแลง แล้ว โบกปูนทับอีกที เครื่องบนทำจากไม้เช่นกัน จะสังเกตุได้จากร่องรอยบนเสา ที่ทำไว้เข้าไม้ ต่างๆ

ศิลาแลง

ที่ จ. สุโขทัย นั้น เป็นผืนดินที่เต็มไปด้วย ศิลาแลง กล่าวคือ ใต้ผืนดินแถบนี้ ลึกลงไปประมาณ 1.5 เมตร จะมีศิลาแลง เกือบทั้งสิ้น ศิลาแลง นิยมนำมาใช้ในการก่อสร้าง สิ่งต่างๆ ในอดีต เนื่องจาก มีความคงทน แข็งแรง โดยขั้นตอนการนำมาใช้งานนั้น มีดังนี้ ขั้นแรก ขุดศิลาแลงขึ้นมา อัดใส่ในบล๊อค หรือแบบ แล้วรอจนแห้ง เมื่อแห้งแล้ว เนื้อ ศิลาแลง จะ เป็นรูพรุน เนื่องจากเกิดการทำ ปฏิกริยา ระหว่าง ออกไซด์ (เหล็ก) กับ อากาศ หรือเรียกกระบวนการนี้ว่า ออกซิเดชั่น oxidation ซึ่งจะมีความแข็งแรงและคงทนมาก ยิ่งนานวันจะยิ่ง คงทน เราจึงได้เห็นการนำ ศิลาแลงมาใช้ก่อสร้างเป็นฐานรากของอาคารโบราณเสมอ เช่น ปราสาทหินต่าง ซึ่งมีน้ำหนักมาก

โบกปูน

เมื่อทำการก่อสร้างใดๆ ก็มักจะมีการประดับประดา ลวดลายต่างๆด้วย เช่น ปราสาทหิน อย่างนครวัด พนมรุ้ง พิมาย ซึ่ง จะใช้หินแกะสลัก แต่ การก่อสร้างด้วยศิลาแลงนั้น ไม่สามารถทำการแกะสลักได้ จึงใช้วิธี ปูนปั้น แทน สำหรับ ตัวปูนปั้น นั้น ทำจากอะไรหาคำตอบได้ที่นี่ครับ

สำหรับที่มาของชื่อ วัดนั้น มีหลายข้อสันนิษฐาน ด้วยกัน ทั้ง มาจาก สะหลีชุม (ดงต้นโพ) หรือ ฤาษีชุม ซึ่งก็แล้วแต่ว่าเราจะ สนับสนุนเหตุผลข้อไหน นะครับ

ผมเองก็ดีใจมากที่ได้มาที่นี่อีกครั้งหนึ่ง ก็เลย เก็บเอาเรื่องราวดีๆ ประทับใจกลับมาให้ทุกท่านได้อ่านกัน และที่สำคัญ ไม่ต้องรอลอยกระทงนะครับ ถึงจะมาเที่ยวสุโขทัย มาเมื่อไรก็ได้ครับ ถ้าใจอยากมา และ เวลาเหมาะสม สำหรับวันนี้ ผมคงต้องลาไปก่อนครับ ขอไปเที่ยว เมือง สุโขไท ( ดินแดนแห่ง ความสุขและเสรีภาพ ก่อนครับ)