ล่องเรืออยุธยา ล่องเรือเจ้าพระยา แม่น้ำป่าสัก รับประทานอาหาร

ทุกวัน
(บริการ เหมาลำเท่านั้น) 1 สิงหาคม 2558 – 31 ตุลาคม 2558

อดีตราชธานีที่ยิ่งใหญ่ มีความเจริญมั่งคั่งยาวนานถึง 417 ปี มีพระมหากษัตริย์ถึง 33 พระองค์ ด้วยความมั่งคั่งสมบูรณ์ของอยุธยาราชธานี จึงปรากฏโบราณสถานสำคัญมากมาย อันทรงคุณค่าทางด้านสถาปัตยกรรม ศิลปกรรม วัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ ประกอบกับอยุธยามีลักษณะเป็นการ มีแม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำป่าสัก โอบเมืองทั้งสองด้านแล้วมาสบกัน เกิดเป็นความสวยงามทางธรรมชาติ เรือไทยรับรอง จึงนำท่านล่องสองสายน้ำแห่งกาลเวลา

ที่เชื่อมอดีตและปัจจุบันเข้าด้วยกันกับวิถีบนสายน้ำ ให้คุณชื่นรมย์ชมกรุงศรีอยุธยา พร้อมอาหารเซ็ทเมนูประทับใจ

ระยะเวลาที่ใช้บริการ 1 ชั่วโมง – 1 ชั่วโมงครึ่ง (ท่านสามารถเลือกล่องเรือ มื้อกลางวัน หรือ มื้อเย็นได้ตามสะดวก)

เส้นทางการล่องเรือ

เรือออกจากท่าเรือ – วัดพุทไธศวรรย์ – โบสถต์เซ็นต์โยเซฟ – วัดไชยวัฒนาราม (ตรงข้ามพระตำหนักสิริยาลัย) – วัดกษัตราธิราช – เจดีย์ศรีสุริโยทัย – วัดท่าการ้อง – (ย้อนเรือกลับทางเดิม) ป้อมเพ็ชร – วัดพนัญเชิง (บนเรือมีขนมปังจำหน่ายทำบุญให้อาหารปลา) – สะพานปรีดีย์ – บ้านญี่ปุ่น – บ้านโปรตุเกส

– เรือกลับเข้าท่า

 

หมายเหตุ

เส้นทางล่องเรืออาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม โดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า

ขนาดของเรือที่ให้บริการ

100 ท่าน, 80 ท่าน , 60 ท่าน , 50 ท่าน , 30 ท่าน , 10 ท่าน

ค่าบริการ สำหรับ ชาวไทย
ค่าบริการล่องเรือสำหรับ ชาวไทย ( ขั้นต่ำ 8 ท่าน ต่อคณะ )
(ค่าบริการเรือพร้อมค่าอาหารและน้ำอัดลมน้ำดื่ม)
ราคา 490 ต่อท่าน
**กรณีมีผู้เดินทางเป็นชาวต่างชาติ ค่าบริการจะเปลี่ยนแปลงเป็นรายกรณี โปรดสอบถามเพิ่มเติม
   

จองเรือโทร 02 758 5154 -6

รายการอาหาร สำหรับ ชาวไทยประเภทเลือกได้ 5 อย่าง

ผัดเผ็ดปลาดุกทอดกรอบ / ซี่โครงอ่อนผัดเผ็ด/ เนื้อคำหวาน/หมูคำหวาน/คอหมูย่าง/ ยำคอหมูย่าง/ ยำสามกรอบ /ยำรวมมิตรทะเล ยำรวมมิตร /ยำถั่วพู /ลาบหมู /ลาบเนื้อ /ส้มตำมะละกอแครอทกุ้งสด /ลาบไก่ / ส้มตำไทย /ไก่ผัดเม็ดมะม่วงหิมพานต์ /ไก่ทอดอร่อย /ห่อหมกทะเลมะพร้าวอ่อนผัก /ไก่อบยอดผักเห็ดหอม /ผัดผักสี่สหาย / ปลาหมึกผัดผงกะหรี่ /ขาหมูอบยอดผักเห็ดหอม/ ผัดรวมมิตร

ปลาหมึกผัดน้ำพริกเผา /เต้าเจี้ยวหลนหมูสับ+ผักสด

ประเภทเลือกได้ 1 อย่าง ปลาทับทิมสามรส /ปลาทับทิมนึ่งมะนาว/ ลาบปลาทับทิม /ปลาทับทิมทอดกระเทียม /ปลาแรดสามรส /ปลาแรดทอดกระเทียม

ปลาช่อนเผาเกลือ /ลาบปลาช่อน/ ปลาช่อนนึ่งหลวงพระบาง/ ปลาตะเพียนไร้ก้าง/ ทอดมันปลากราย/ ทอดมันกุ้ง

ประเภทเลือกได้ 1 อย่าง แกงเขียวหวานลูกชิ้นปลากราย/ แกงส้มผักรวมกุ้ง/ แกงส้มผักรวมปลาทอด/ แกงส้มชะอมทอดกุ้งสด

ต้มยำปลาคัง/ ต้มยำขาหมู /ต้มยำกุ้ง /ต้มข่าไก่ /ต้มยำปลาม้า /แกงจืดเต้าหู้หมูสับ /แกงจืดเต้าหูสาหร่าย

ของหวาน เลือกได้ 1 อย่าง

ผลไม้รวม / เฉาก๊วยน้ำเชื่อม

บริการข้าวสวย ,น้ำแข็ง,น้ำดื่ม,น้ำอัดลม ตลอดการเดินทาง

เส้นทางการล่องเรือ เรือออกจากท่าเรือ – วัดพุทไธศวรรย์ – โบสถต์เซ็นต์โยเซฟ – วัดไชยวัฒนาราม (ตรงข้ามพระตำหนักสิริยาลัย) – วัดกษัตราธิราช – เจดีย์ศรีสุริยาทัย – วัดท่าการ้อง – (ย้อนเรือกลับทางเดิม) ป้อมเพ็ชร – วัดพนัญเชิง (บนเรือมีขนมปังจำหน่ายทำบุญให้อาหารปลา) – สะพานปรีดีย์ – บ้านญี่ปุ่น – บ้านโปรตุเกส

– เรือกลับเข้าท่า

วัดพุทไธศวรรย์

เป็นวัดเก่าแก่ที่สุดวัดหนึ่งของอยุธยา สร้างในสมัยสมเด็จพระเจ้าอู่ทองในปี พ.ศ. 1896 บริเวณนี้เดิมเรียก “เวียงเหล็ก”

เป็นที่ซึ่งพระองค์อพยพผู้คนมาพำนักก่อนสร้างพระราชวังหลวงที่หนองโสนถึงสามปี

วัดไชยวัฒนาราม

สร้างในสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง ปี พ.ศ. 2173 มีความงดงามของหมู่พระปรางค์ อันเป็นรูปแบบสถาปัตยกรรมและศิลปกรรมของขอมในการสร้างปราสาทหินที่นครวัดตามคติความเชื่อเรื่อง การสร้างเขาพระสุเมรุอันเป็นศูนย์กลางของจักรวาล วัดกษัตราธิราชวรวิหาร เป็นวัดเก่าแก่ครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ได้รับการบูรณะให้มีภูมิทัศน์โดยรอบสวยงาม โดดเด่นด้วยองค์พระปรางค์และพระอุโบสถเป็นสง่าริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา

เจดีย์ศรีสุริโยทัย

เป็นเจดีย์ย่อมุไม้สิบสอง ศิลปะสมัยอยุธยา สมเด็จพระมหาจักรพรรดิโปรดเกล้าฯให้สร้าง เพื่อเป็นอนุสรณ์แด่สมเด็จพระศรีสุริโยทัยพระอัครเหสี ซึ่งสิ้นพระชนม์ในศึกยุทธหัตถีกับพระเจ้าแปรกษัตริย์พม่า จึงเป็นที่ยกย่องพระเกียรติภูมิวีรกษัตรีไทย

วัดท่าการ้อง

เป็นวัดเก่าแก่สมัยกรุงศรีอยุธยา มีอายุกว่า 450 ปี ในปี พ.ศ. 2310 พม่ายกทัพมาพักบริเวณวัดท่าการ้อง เกิดเหตุการณ์ “ นกกาได้บินข้ามแม่น้ำมาฝั่งวัดพนัญเชิง ถูกยอดเจดีย์เสียบอกตาย น้ำพระเนตรหลวงพ่อโตวัดพนัญเชิงไหลออกมา ถึงคราวกรุงศรีอยุธยาสิ้น ณ ครานั้น

ป้อมเพชร

เป็นป้อมหนึ่งใน 29 ป้อม สมัยกรุงศรีอยุธยา ที่ได้รับการบูรณะสมบูรณ์ในอดีตบริเวณป้อมนี้เป็นที่อยู่ของชาวจีน เป็นย่านเศรษฐกิจเช่นเดียวกับเยาวราช

วัดพนัญเชิง

เป็นวัดเก่าแก่ในสมัยกรุงศรีอยุธยา พุทธศาสนิกชนนิยมมากราบไหว้หลวงพ่อโต หรือเจ้าพ่อซำปอกง ที่ศักดิ์สิทธิ์ เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัย ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย


สะพานปรีดี – ธำรง

เป็นสะพานที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่นายปรีดี พนมยงค์ และหลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ บุคคลสำคัญของชาติ และเป็นชาวจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

หมู่บ้านญี่ปุ่น

ชาวญี่ปุ่นได้เข้ามาติดต่อการค้ากับกรุงศรีอยุธยาในสมัยพระเจ้าทรงธรรม ทรงพระราชทานที่ดินให้ตั้งบ้านเรือน

หมู่บ้านโปรตุเกส

เป็นชนชาติแรกที่เข้ามาเจริญสัมพันธไมตรีกับกรุงศรีอยุธยา ในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ในสมัยนั้นชาวโปรตุเกส

จัดเป็นชุมนุมใหญ่ นักโบราณคดีขุดค้นพบซากโบสถ์ ซึ่งเป็นคริสต์ศาสนสถาน และข้าวของเครื่องใช้อีกทั้งโครงกระดูกในชุมชน