เมื่อมาถึงที่หมู่บ้านนอแลปะหล่องแล้ว ก็พบ มัคคุเทศก์ น้อยพื้นบ้าน 2 คน เดินเข้ามาแนะนำตัวกับ คำปู้จู้ สองคนนี้ อยู่ในชุด
ประจำเผ่า ด้วยคะ คำปู้จู้ ก็ได้ฟังรายละเอียด ของ ความเป็นมาของ เผ่านี้ ซึ่ง ได้ใจความว่า“ปะหล่อง” เป็นขื่อที่ชาวไทยใหญ่ใช้เรียก แต่พวกเขาเรียกตัวเองว่า“ อาระดั้ง “
นับถือทั้งผีและพุทธปะปนกัน มีภาษาพูดของตัวเอง แต่ไม่มีภาษาเขียน ลักษณะเด่นของชาวเขาเผ่านี้ คือ ผู้หญิง เด็ก สาว ชรา จะสวมห่วงที่ทำจากหวายชุบยางรักจนมันวาว ไว้ที่เอวตลอดเวลา ทั้งยามทำงาน เข้าป่า หรือนอน ตามความเชื่อนั้น
ก็เพื่อ ป้องกันมิให้ นายพราน มาเอาตัวไป ทำเป็นภรรยา คะ
ตอนนี้ ชาวปะหล่องนั้น มีความเป็นอยู่ สะดวก สบาย มากขึ้น มีเจ้าหน้าที่ ทหาร ต.ช.ด. เข้ามาเป็น ครู คอยช่วยฝึกสอนดูแล ความปลอดภัย ให้อย่างดี ทำให้เด็กๆ ปะหล่อง นั้น สามารถพูดไทยได้อย่างดีเยี่ยม นอกจากนั้น ยังมีการส่งเสริมอาชีพ ในงานหัตถกรรม ต่างๆ จำพวก การทอผ้า ซึ่งมีความงามแบบเรียบง่าย และ ลวดลาย ไม่สลับซับซ้อนมากนัก ซึ่งคำปู้จู้ เองก็อุดหนุนมาหลายผืนคะ แหม มาเที่ยวแล้วต้องกระจายรายได้สู่ท้องถิ่นด้วยนะคะ นอกจากที่ คำปู้จู้ จะอุดหนุนสินค้าชาวปะหล่องแล้ว ก็ยัง ได้มีโอกาส เอาหนังสือ อ่านเล่นไปฝาก เหล่าทหาร รั้วของชาติอีกด้วย
ซึ่งนับว่า การเดินทางของ คำปู้จู้ นั้นมีความหมายมากขึ้นทีเดียว
ตื้นตันจริงๆค่ะ คำปู้จู้ไม่รู้จะบรรยายอย่างไร
หลังจากเที่ยวบริเวณ ฐานปฏิบัติการนอแลปะหล่องเรียบร้อย คำปู้จู้ ก็เดินทางลงเนินมาเล็กน้อยเพื่อเที่ยวชมไร่สตอเบอร์รี่ ที่นี่เขาปลูกกันมากเลยทีเดียว มีทั้ง ปลูกแบบยกร่องธรรมดา และ ปลูกในโรงเรือนค่ะ เราสามารถเลือกซื้อสตอเบอร์รี่สดๆจากไร่ ได้ทันที และ ยังเป็นการกระจายรายได้แก่ ชาวบ้าน ด้วยนะคะ อ้อที่สำคัญ ก่อนจะลิ้มชิมรสของสตอเบอร์รี่ สีแดงสด เหล่านี้
อย่าลืมล้างให้สะอาดนะคะ จากการเยี่ยมชม บ้านนอแลปะหล่องแล้ว คำปู้จู้ ก็เดินทางไปสู่ สถานีเกษตรหลวง อ่างขาง ต่อในทันที
วิวสวยๆ ตามข้างทาง มีให้เห็นอย่างไม่จบไม่สิ้น
สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง
เป็นสถานที่ทดลองพันธุ์ไม้เมืองหนาวชนิดต่าง ๆ ทั้งไม้ดอกไม้ประดับ และพืชผักผลไม้ ทั้งสาลี่ กีวีฟรุต สตอเบอรี่ ไม้ดอก กุหลาบ เยอบีร่า และอีกมากมาย ที่สำคัญ มีสวนบ๊วย ที่หลายๆ คนอยากมาถ่ายภาพกันเนื่องจากเป็นฉากหนึ่งในละครดัง ธรณีนี่นี้ใครครอง
นักท่องเที่ยวนิยมเดินทางท่องเที่ยวดอยอ่างขางช่วงหน้าหนาว จุดแรกที่ คำปู้จู้ เข้าชม นั้นก็เป็นเรือนปลูกไม้ดอกไม้ประดับ และ ไม้กระถางต่างๆ .