>>> ดอกชมพูภูคา บ้านบ่อเกลือ วัดหนองบัว

บริเวณต้น ชมพูภูคาเดิม ปัจจุบัน น่าจะตายไปแล้วครับ

สวัสดีครับ นายเกริกเกียรติ จะขอพาท่านไปเที่ยวเมืองน่าน กันอีกสักครั้งนะครับ แต่คราวนี้ไม่ได้ เที่ยวแต่ในเมือง ที่มีวัดวาอาราม วันนี้ ผมจะพาทุกท่านขึ้นดอยชื่อดัง ของเมืองน่าน ใช่แล้ว ดอยภูคา นั่นเองครับ ผมจะพาทุกท่าน ไปเที่ยวชม ต้น ชมพูภูคา ต้นไม้ที่มีดอกสี ชมพู สวยสดงดงาม และพบที่นี่ที่เดียวในประเทศไทย ของเรา ตามมาเลยครับ

เริ่มต้นจาก เดินทางแต่เช้าตรู่ สู่ดอยภูคา เช้าวันนี้ของผม ดูจะสดชื่นเป็นพิเศษ เพราะ ผมมาที่นี่ ถึง 3 ครั้ง 3 ครา ติดๆ กันทุกปี แต่ยังไม่มีโอกาส ได้ชม ดอกสวยๆ ของต้นชมพูภูคา เลยสักครั้ง วันนี้หละ ผมจะได้เห็นแล้ว

รถพาผม ลัดเลาะตามเส้นทาง เขาหลายโค้ง พอสมควร แต่ก็ไม่ถึง กับ คดเคี้ยวมากนัก เส้นทาง บางช่วง เทถนนใหม่แล้ว ดีเหมือนกันครับ เพราะ ปีก่อน ค่อนข้างแย่พอสมควร เพียง ไม่ถึง ชั่วโมง ผมก็มาถึง ลานดูดาว จุดแวะพักจุดแรก ที่ขอแอบ จอดเข้าห้องน้ำเสียหน่อย ตรงบริเวณนี้มี พื้นที่พอสมควร สามารถกางเต๊นท์ ได้อีกด้วย ช่วงนี้ อากาศ กำลังหนาวเลยครับ ซื้อน้ำมาดื่ม ก็เย็นโดยไม่ต้องแช่เลย

ถัดจาก ลานดูดาว มาไม่นาน ผมก็มาถึง จุด ที่จะชมต้น ชมพูภูคา ซึ่ง แต่เดิม นั้น ต้นเก่า จะมีขนาดสูง ใหญ่พอสมควร และ มีทางเดินเข้าไปชมได้อย่างสะดวก ซึ่ง นับว่าเสียดายมาก ที่ ต้น เก่า นั้นคาดว่า ตายไปเสียแล้วครับ เพราะ โกร๋น ไปหมดเลย แต่ก็ยังดีนะครับ ที่ เขาเอาต้นใหม่ ซึ่ง นำไปเพาะ มาปลุกไว้ไห้ได้ชมกันอีก ซึ่ง ต้นชมพูภูคาใหม่นั้น ยังไม่ใหญ่มากนัก สูงประมาณ 3-5 เมตรเท่านั้น แต่ก็ออกดอก ได้ มากพอสมควรทีเดียวครับ เยี่ยมจริงๆ ปีนี้ได้เห็นเต็มๆ เสียที ( ผมขอพูดในใจนะ) แล้วก็ถ่ายภาพอย่างเดียวเลย

ชมพูสวยสด อย่างนี้ ควรค่าแก่การรอคอยครับ

ชมพูภูคาเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ สูงประมาณ 25 เมตร อายุระหว่าง 50-100 ปี ขึ้นอยู่ตามไหล่เขาลาดชัน ที่มีความสูงประมาณ 1.500 เมตร ลำต้นมีเปลือกเรียบสีเทา ดอกสีชมพูสวยสะดุดตา ช่อดอกยาวประมาณ40ซ.ม. จะออกดอกประมารเดือน ก.พ. -มี.ค. ของทุกปี ค้นพบโดย ดร. ธวัชชัย สันติสุข ผู้เชี่ยวชาญด้านพฤกศษสตร์ เมื่อวันที่ 20ก.พ.2532

แปลกดีไหมครับ ต้นชมพูภูคานี้ ดอกจะออกมาจากกิ่ง เลยทีเดียว

นักท่องเที่ยวมาชมดอกชมพูภูคา ต่างก็มองด้วยความพิศมัย

หลังจากที่อิ่มอกอิ่มใจกับการ ถ่ายภาพ ของต้นชมพูภูคาแล้ว ผมก็เดินทาง ต่อไปสู่ บ้านบ่อเกลือ ซึ่งที่นี่ นั้น นับว่า เป็น บ่อเกลือ สินเธาว์ ที่สำคัญแห่งหนึ่งของภาคเหนือ เลยก็ว่าได้ บ่อเกลือ นั้น อยู่ที่บ้านบ่อเกลือ เกือบจะสุดทาง ของ เส้นทางนี้ ครับ เหตุที่ผมมาที่นี่ ก็เพราะ ทุกครั้งครา ผมมา ชมดอกชมพูภูคาแล้ว ต้องมาที่นี่ทุกครั้ง หากวันนี้ไม่ได้ไปเยี่ยม ก็คงจะรู้สึกแปลก ๆ เลยต้องไปเที่ยวเสียหน่อย เพราะ การที่เรา ได้ไปอีกครั้ง เราจะได้เห็น ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น แถม ยังได้กระจายรายได้อีกด้วย

บ่อวิดน้ำเกลือ

ตำนานบ่อเกลือ นั้น มีอยู่ว่า มีนายพราน ผู้หนึ่ง ตามล่าสัตว์ป่า มาถึง บริเวณนี้ แล้วพบว่า สัตว์ป่าชอบมากินน้ำที่นี่ เมื่อชิมดูปรากฏว่า มีรสเค็ม ข่าวล่วงรู้ไปถึง เจ้าบ่อหลวงและ เจ้าภูคา จึง เกิดการแย่งชิง พื้นที่แถบนี้ ขึ้น โดยทั้งสองได้แข่งกันพุ่ง สะเตา( หอก ) ชาวบ้านต่าง ได้ทำหอ ขึ้นเพื่อระลึกถึงพระคุณของเจ้าทั้งสอง จากนั้น เจ้าทั้งสอง ได้กะเกณฑ์ ชาวบ้านจากเชียงแสน มาหักร้างถางพงอาศัยอยู่ที่นี่ และกลายเป็นบรรพบุรุษ ของคนที่นี่ไป

ในครั้งหนึ่ง พระเจ้าติโลกราช กษัตริย์ องค์ที่ 7 ของ เชียงใหม่ได้เกิดสนพระทัย บ่อเกลือ แห่งนี้ ถึงกับยกทัพมายึดเมืองน่านอีกด้วย

สาเหตุของการเกิกน้ำเกลือ นั้น จากหลักฐานทางธรณีวิทยา พบว่า แถบนี้ เคยเป็นทะเลมาก่อน จึงมี เกลืออยู่ในชั้นดิน และ จะถูกน้ำกัดเซาะ ละลายออกมาด้วยนั่นเอง

เตาต้มเกลือ ซึ่ง เราสามารถชมการทำได้ทุกขั้นตอน

การต้มเกลือ ของชาวบ้านนั้น จะใช้วิธีการ นำน้ำเกลือ ออกจากบ่อ แล้วใส่ในกะทะ ซึ่ง จะแขวน อยู่เหนือ เตาที่ก่อจากดิน อังไปเรื่อยจนกว่า น้ำจะแห้ง ซึ่ง แต่ละครั้ง จะได้ เกลือ ประมาณ 20 กิโลกรัม เป็นอย่างน้อย ใครๆมาที่นี่ก็จะรู้สึกคล้ายๆ กับไปเที่ยวแถบๆสมุทรสาคร เลย เพราะ มีเกลือ ขายอยู่เต็มไปหมด เกลือทีนี่มีการผสมไอโอดีนเรียบร้อยแล้วด้วยนะครับ

จากบ้านบ่อเกลือผมก็เดินทางกลับ แต่ยังไม่หมด แค่นี้ครับ ผมยังเหลือที่เที่ยวอีกแห่งหนึ่ง นั่นก็คือ วัดหนองบัวนั่นเอง ครับ วัดหนองบัวนี้ ตั้งอยู่ในชุมชน ชาวไทยลื้อ ทีมาจาก สิบสองปันนา ( อ่านเรื่องราวเพิ่มเติมได้ที่นี่ครับ )

วัดหนองบัวเป็นวัดที่มีศิลปะ แบบ ไทยลื้อ อย่างเห็นได้ชัด

วัดหนองบัวนั้น มีประวัติดังนี้ ครับ

พระครูมานิตบุญญการ เล่าว่า นายเทพ ผู้เป็นบิดาของท่าน ได้เป็น ทหารของ ท้าว อนันยศ เจ้าเมืองน่าน ในขณะนั้น ได้ติดตาม ท้าว อนันยศ ไปรบ ที่เมืองพวน ใกล้ๆ กับหลวงพระบาง หลังจากกลับจาก เมืองพวน นายเทพ ได้พบกับ ช่างเขียน ชาวลาวพวน ชื่อทิดบัวผัน จึงนำมาเป็นช่างเขียนจิตรกรรมฝาผนังที่วัด แห่งนี้ นอกจาก ทิดบัวผันแล้วยังมี นายเทพ และ พระแสนพิจิตร อีก2คน ด้วย ภาพจิตรกรรมภายในนั้นเป็นเรื่องราว เกี่ยวกับ จันธคาธ

จาก ประวัติศาสสตร์ นั้น พอจะทำให้เราเดาอายุ ของจิตรกรรมได้ เพราะ เจ้า อนันยศ นั้น ครองเมืองน่านเมื่อ พ.ศ. 2395-2434 ครับ ดังนั้น คงจะอยู่ในช่วง สมัย รัตนโกสินทร์นี่เอง ยิ่งภาพต่างๆ ยิ่งทำให้สามารถ วิเคราะห์ ได้ง่ายขึ้น ซึ่ง ก็คาดว่าน่าจะอยู่ราวๆสมัย พระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 นั่นเอง

ที่วัดนี้ ด้านหลังมีกลุ่ม แม่บ้าน รวมตัวกันทอผ้าลายน้ำไหลด้วยสามารถไป อุดหนุนได้

ภาพหญิงพื้นเมือง นุ่งซิ่น ลายน้ำไหล

นอกจากจะบอกเล่าเรื่องราวแล้ว ยังแสดงให้เห็นถึง การแต่งกายในอดีตด้วย

รูปปืนที่ติดดาบปลายปืน ยิ่งบอกได้ว่า เป็น สมัยรัตนโกสินทร์ แน่นอน

นอกจากนั้นยังมีภาพ ของชาวต่างชาติ และ เรือกลไฟ และอื่นๆ อีกมากมาย เมื่อได้มาเที่ยวอย่างนี้แล้ว ยิ่งดีใจครับ ที่ บ้านเรา นั้น มีเรื่องราวเกี่ยวกับประวัติศาสตร์มากมาย ให้น่าศึกษา ค้นคว้า ผมเองก็ดีใจอย่างมาก ที่ได้กลับมาที่นี่ และ พบว่า วัดแห่งนี้ ยังคงอยู่ในสภาพที่ดี เช่นเดิม แถมยังดีกว่าเดิมอีกด้วย นับว่าเป็นโชคดี ของชุมชนนี้ ที่มีคนรู้ค่า ของ ภูมิ ปัญญา บรรพบุรุษ และ พยายามรักษา เอาไว้ ผมเองก็ หวังให้ทุกท่าน คิดที่จะรักษา ทั้งธรรมชาติ และ ประวัติศาสตร์ ของไทยเอาไว้ให้สืบทอดสู่คนรุ่นหลังนะครับ

รูปแบบของไทยลื้อ แทบไม่แตกต่างจาก ล้านช้าง เลยครับ แต่ลวดลาย สีสัน จะโดดเด่นกว่า