Event & Festival 2006
Laos cerebrates many annual festivals called “Boun”, which are particularly enjoyable and beautiful, signifying traditional aspects of Lao lifestyle. Most festivals are connected with religion and the yearly rice farming cycle. The timing of the festivals is calculates according to the Buddhist lunar calendar.
12-14 January 2006
That Inhang Festival in Savannakhet Province
This festival will be held on the grounds of the splendid That Inhang Stupa which is located just outside the city of Savannakhet Province. An international trade fair will include exhibitions of tourism products from Laos, Thailand and Vietnam. The fair will also include the performance of Traditional Lao music and dance, as well as a sports competition featuring football, boxing, tennis and local traditions, including a drumming competition.
February
Boun Khoun Khao or Khoun Lan (Rice Ceremony)
This is a harvest festival held at Songkhon District in Savannakhet Province. “Basi” ceremony is performed in order to give thanks to the land .
13-15 February 2006
Boun Khao Chi (Makhaboucha) A ceremony is held at the “Wat” (temple) in the morning, when a special “bread made of sticky rice” is offered. This festival is held during the third full moon of the lunar calendar. During the same period, similar festivals are celebrated in many provinces:
Sikhottabong Festival in Khammouane Province
This traditional religious festival is held at Sikhottabong Stupa, located about 8 kilometers to the South of Thakhek town. The stupa was built between the 9th and 10th Century by King Nantahsena and was restored to its original grandeur during the 1950’s.
Wat Phou Festival in Champasack Province
This festival is held during the third full moon of the lunar calendar on the grounds of the enchanting pre-Angkorian Wat Phou ruins in Champasack. Festivities include elephant races, buffalo fights, cock fighting, traditional Lao music and dance performances. To coincide with the festival, a trade fair is also held to showcase products originating from southern Laos, Thailand, Cambodia and Viet Nam.
Boun Pha Vet
An offering ceremony where a donation is made and one’s future is read during the three day-three night festivals.
14-15-16 April 2006
“Boun Pi Mai” Lao’s New Year
Lao New Year is celebrated at the same time each year (April 13-15). This year, the 16th is the first day of the New Year. On the 13th, Buddha images are taken out of the temples to be cleansed with scented water by devotees, and placed on special temporary altars within the compounds of “wats” (temples). Devotees gather the scented water falling off the images, to take home and use it to pour on friends and relatives, as an act of cleansing and purification before entering the New Year. On the evening of the 15th, the images are returned to their proper shriners within the temples. Boun Pi Mai is a time for much joyous celebration, with good deeds and prayers in anticipation the New Year.
Boun Bang Fai (Rocket festival)
A ceremony praying for rain is performed at the temple in the morning. In the afternoon, people gather in fields on the outskirts of villages and towns to launch the rockets with much abandoned revelry. Villages, communities and departments compete for the “best decorated” and the “highest traveling” rocket. Beginning around the middle of May, the festivals are staggered from place to place enable more participation and attendance. This is the time when an offering to the spirits can be made in a corner of one’s garden, early each morning.
12 May 2006
Boun Visakhaboucha
This festival is held during the sixth full moon of the lunar calendar for the Buddha. Candlelight processions are held in temples to mark the birth date of Buddha.
10 July 2006
Boun Asalahaboucha and Boun Khao Pansa (Buddhist Lent)
This is the beginning of Buddhist Lent. During the next three-month period, monks spend most of their times in prayer and meditation and are restricted from spending nights in other “wats”. This festival is held during the eighth full moon of the lunar calendar.
23 August 2006
Boun Khao Padabdin (Rice) and Boat Racing Festivalat Luang Prabang
At the Khao Padabdin ceremony day, people visit local temples to make offerings to dead ancestors as well as to share merit-making. This festival includes boat racing on the Nam Khan River and a trade fair in Luang Prabang World Heritage town.
7 September 2006
Boun Khao Salak (Rice)
This is for offerings to be made for dead ancestors to obtain merit. Popular and exciting longboat-racing competitions are held to celebrate the River. This festival is held during the tenth full moon of the lunar calendar.
Boat Racing Festival in Khammouane Province
This is held on the Sebangfai River. At the same occasion a trade fair of agricultural products, local handicrafts, Traditional Lao music and dance performance are organized. In this festival, citizens donate offerings to dead ancestors to gain merit.
7-8 October 2006
Boun Ok Phansa and Boat Racing Festival
The festival held after the end of the monks’ three-month fast and retreat during the rainy season (Boun Khao Pansa). At dawn on the first day, donations and offerings are made at temples around the city. In the evening, candlelight processions are held at temples and hundreds of colorful floats decorated with flowers, incense and candles are set adrift down the Mekong River to pay respect to the river spirit. The following day in Vientiane, Savannakhet and Champasack Province, a popular and exciting boat racing competition is held to celebrate the Mekong River.
Boun Khathin
This festival begins immediately after the last day of Lent, and lasts until the next full moon. During the one month period, devotes of the Buddhist faith help the monks to carry out their religious practice by making offerings of all their 9 requisites and other useful items .
3-5 November 2006
That Luang Festival and Trade Fair in Vientiane
This religious festival is held in and around That Luang Stupa, the National Symbol of Laos, where hundreds of monks gather to accept alms and floral votives from the people. The festival includes a grand fireworks display at night. During the day, an international trade fair, showcasing tourism in Laos and other countries from ASEAN and the Greater Mekong Sub-region. During the same period a similar festival is also celebrated at Ching Tim Stupa in Luang Namtha Province.
2 December 2006
30 Annivesary Lao P.D.R.
-Hmong New Year in Oudomxay, Xieng Khouang, Luang Prabang and Vientiane Province
This year, the Hmong New Year celebration features colorful displays of traditional costumes made from green, red and white silk and ornate silver jewelry. Music from traditional Hmong instruments such as the teun-flute, Hmong-style khene pipe and leave blowing is enjoyed. Other festivities include the Makkhon (cotton-ball) throwing ceremony, ox fighting, spinning-top races and crossbow demonstrations.
ฮีตสิบสอง นอกจากวิถีชีวิตความเป็นอยู่ และภาษาที่ไทย – ลาว มีความคล้ายคลึงกันแล้ว งานประเพณีต่างๆ ตลอดปีของลาวก็ดูไม่ต่างจากชาวไทยในภาคอีสานนัก เกือบทั้งหมดเป็นงานประเพณีที่เกี่ยวเนื่องกับพุทธศาสนาเรียกกันว่า “ฮีตสิบสอง” ฮีต หมายถึง จารีต สิบสอง หมายถึง เดือนทั้ง 12 เดือนในรอบหนึ่งปี
ชาวหลวงพระบางมีงานประเพณีครบทั้ง 12 เดือนในหนึ่งปีทีเดียว แต่ละงานน่าสนใจและน่าสัมผัสดังนี้
เดือนอ้าย
บุญเข้ากรรม ช่วงที่จัด : เดือนธันวาคม ซึ่งอยู่ในช่วงฤดูหนาว ลักษณะงาน : จุดประสงค์ของงานนี้เพื่อให้พระภิกษุ ผู้ต้องอาบัติขั้นสังฆาทิเลส ( ความรุนแรงรองจากอาบัติชั้นปาราชิก )
เข้าพิธีกรรมปลงอาบัติด้วยการอยู่ในเขตที่จำกัด เพื่อชำระจิตใจให้สะอาด
เดือนยี่
บุญคูณลาน ช่วงที่จัด : หลังฤดูเก็บเกี่ยว ลักษณะงาน : ก่อนที่จะนำข้าวที่นวดแล้วไปเก็บในยุ้งฉาง จะมีการทำบุญขวัญข้าว มีการนิมนต์พระภิกษุมาสวดเป็นสิริมงคล
และเป็นนิมิตรหมายที่ดีให้ปีต่อๆ ไปทำนาเกิดผลดียิ่งๆ ขึ้น
เดือนสาม
บุญข้าวจี่ ช่วงที่จัด : หลังงานมาฆบูชา ลักษณะงาน : ชาวนาจะนำข้าวจี่หรือข้าวเหนียวนึ่งสุก ปั้นเป็นก้อนเท่าไข่เป็ดทาเกลือ นำไปเสียบไม้ย่างไฟ จากนั้นตีไข่ทา ให้ทั่วแล้วย่างจนไข่สุกและถอดไม้เสียบออกนำน้ำตาลอ้อยยัดตรงกลางเป็นไส้ นำถวายพระสงฆ์ในช่วงที่หมดฤดูทำนาแล้ว
เพื่อเป็นการทำบุญ
เดือนสี่
บุญพระเวส ช่วงที่จัด : เดือนสี่ข้างขึ้นแรมก็ได้
ลักษณะงาน : งานบุญพระเวส หรืองานบุญมหาชาติ เช่นเดียวกับงานฟังเทศเวสสันดรชาดก อันเป็นชาดกที่ยิ่งใหญ่ ชาวบ้านจะช่วยกันตกแต่งประดับประดาโรงธรรมด้วยดอกไม้ ของหอม ใช้ดอกบัวประดับธรรมมาสน์ มีการจัดรูปขบวนแห่พระเวส และนางมัทรีออกจากป่าเข้าในเมือง ไปสิ้นสุดที่พระอุโบสถ และมีการเทศน์มหาพระเวส ตลอดวัน
เดือนห้า
บุญสงกรานต์ ช่วงที่จัด : ตรุษสงกรานต์ ลักษณะงาน : นับเป็นงานที่ได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวมากที่สุด และยังถือเป็นวันปีใหม่ของลาวเช่นเดียวกับของไทย – วันแรกของงานเรียกว่า “วันสงขารล่อง” ชาวหลวงพระบางจะไปจับจ่ายซื้อของ และธงรูปพระพุทธเจ้า เพื่อ ไปปักกองเจดีย์ทรายริมแม่น้ำโขงตกเย็นมีการลอยกระทงเสี่ยงของทำจากใบตอง บรรจุกล้วย ขิง ข้าวดำ ข้าวแดง ดอกไม้ ใบพลู ธูป เทียน ดอกดาวเรือง ผมและเล็บของผู้ลอย และอธิษฐานให้ทุกข์โศกโรคภัยลอยไปกับกระทง – วันที่สอง เรียกว่า “วันเนา” ช่วงเช้ามีการแห่รูปหุ่นเชิด ปู่เยอย่าเยอ และสิงห์แก้ว สิงห์คำ ช่วงบ่ายขบวนแห่ซึ่ง นำโดยปู่เยอ ย่าเยอ ผู้เฒ่าผู้แก่ หัวหน้าหมู่บ้านแต่ละหมู่บ้าน ขบวนพระสงฆ์ นางสงกรานต์ (นางวอ) ขี่สัตว์ พาหนะบนรถแห่ ปู่เยอย่าเยอก็จะฟ้อนรำ อวยพรให้ลูกหลาน – วันที่สาม เรียกว่า “วันสังขารขึ้น” ชาวหลวงพระบางทำข้าวเหนียวนึ่งและนมลูกกวาด ลูกอม พากันเดินขึ้นภูษี ภูเขาสูงกลางเมืองหลวงพระบาง ระหว่างเดินจะวางข้าวเหนียว และขนมไว้ตามหัวเสาบันไดจนถึงองค์พระธาตุ วิธีการนี้เรียกว่าเป็นการตักบาตรภูษี มีการโยนข้าวและอัญเชิญศีรษะท้าวกบิลพรหมจากวัดเชียงทองไปยังวัดวิชุน มีการสรงน้ำพระที่วัดวิชุน – วันที่สี่ นับเป็นวันสำคัญอีกวันหนึ่งมีการแห่พระบาง พระพุทธรูปคู่เมืองหลวงพระบาง ปีหนึ่งจะอันเชิญออกมาให้ ชาวเมืองสรงน้ำ พระบางนี้จะประดิษฐานอยู่ที่วัดใหม่เป็นเวลา 3วัน 3คืน จากนั้นจะอัญเชิญกลับ หอพิพิธภัณฑ์ เหมือนเดิม
เดือนหก
บุญบั้งไฟ
ช่วงที่จัด : เดือนหกก่อนฤดูกาลทำนามาถึง ย่างเข้าฤดูฝน ลักษณะงาน : คล้ายกับงานบุญบั้งไฟของภาคอีสาน จุดประสงค์เพื่อบูชาหลักเมือง และขอให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล ปีใดที่ไม่ มีการทำบุญบั้งไฟ เชื่อว่าปีนั้นจะเกิดเภทภัยต่างๆ และเป็นสัญญาณว่าฤดูกาลทำนากำลังจะเริ่มต้นแล้ว นับเป็นงานที่กระทำกัน
มาแต่โบราณ
เดือนเจ็ด
บุญซำฮะ ช่วงที่จัด : เดือนเจ็ด ลักษณะงาน : งานเล็กๆ แต่สำคัญ จุดประสงค์เพื่อเป็นการชำระล้างเสนียดจัญไร ที่จะเกิดกับบ้านเมือง เพื่อให้บ้านเมืองมี
ความสงบสุข
เดือนแปด
บุญเข้าพรรษา ช่วงที่จัด : วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8
ลักษณะงาน : เป็นการเริ่มต้นฤดูเข้าพรรษาเหมือนชาวไทย พระสงฆ์จะหยุดออกบิณฑบาตเป็นเวลา 3 เดือน ตามพุทธบัญญัติ นับแต่วันเข้าพรรษาเป็นต้นไป ในวันแรกนี้จะมีการทำบุญกันที่วัดต่างๆ
เดือนเก้า
บุญห่อข้าวประดับดิน การส่วงเฮือ และการล่องเฮือไฟ ช่วงที่จัด : เดือนเก้า ลักษณะงาน : บุญห่อข้าวประดับดิน เป็นการทำพิธีกรรมอุทิศส่วนกุศลให้กับวิญญาณบรรพบุรุษ และวิญญาณไร้ญาติให้ออกมารับส่วนบุญชาวบ้านจะนำอาหารคาว หวาน บุหรี่ หมาก พลู ใส่ลงในกรวยใบตองไปวางตามพื้นดินหรือใต้ต้นไม้บริเวณรั้วบ้าน รั้ววัด การส่วงเฮือ “ส่วง” หมายถึง “แข่งขัน” “เฮือ” หมายถึง “เรือ” เป็นงานบุญแข่งเรือประจำเดือนเก้า ทุกคุ้ม (หมู่บ้าน) จะนำเรือเข้าแข่งขัน ในอดีตการแข่งเรือถือเป็นการฝึกซ้อมฝีพายเพื่อ
ต่อสู้ข้าศึกที่มาทางน้ำ ปัจจุบันนับเป็นงานบุญที่สนุกสนานงานหนึ่งของชาวหลวงพระบาง
เดือนสิบ
บุญข้าวสาก ช่วงที่จัด : วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 10
ลักษณะงาน : จุดประสงค์ของการจัดงานเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้คนตายหรือเปรต ห่างจากงานวันบุญข้าวประดับดิน 15วัน อันเป็นเวลาที่เปรตต้องกลับไปยังที่อยู่ของตน
เดือนสิบเอ็ด
บุญออกพรรษา ช่วงที่จัด : วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11
ลักษณะงาน : เป็นการตักบาตรเทโว มีการจัดอาหารไปถวายพระภิกษุ สามเณร มีการกวนข้าวทิพย์ (กระยาสารท) ถวาย มีการถวายผ้าจำพรรษาและปราสาทผึ้ง โดยนำไม้ไผ่มาสานเป็นรูปปราสาท ตกแต่งสวยงามจัดขบวนแห่ปราสาทผึ้งไปถวายพระในตอนค่ำเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้ผู้ล่วงลับ
เดือนสิบสอง
บุญกฐิน ช่วงที่จัด : แรม 1 ค่ำ เดือน 11 – วันเพ็ญ เดือน 12
ลักษณะงาน : เป็นการถวายผ้าแด่พระสงฆ์ที่จำพรรษามาตลอดช่วงเข้าพรรษา นับเป็นงานบุญที่กระทำกันมาแต่โบราณ