Xiengkhouang Province
Located: Northeastern Laos.
Total area: 15,880 square kilometers.
Population: 230,000.
7 Districts: Pek, Kham, Nonghed, Khoune, Morkmay, Phoukood and Phaxay.
Capital: Pek. Located 435 kilometers northeast of the Vientiane capital. Most of its landscape consist of mountains and hills. Xieng Khouang Province offers the awesome beauty of high green mountains and rugged karst formations. The original capital city, Muong Khoun, was almost totally obliterated by US bombing and consequently, the capital was moved to nearby Phonsavanh. Of several Muong Khoun Buddhist temples built between the 16th and 19th century, only ruins remain. Vat Pia Vat, however, survived the bombing and can be visited. The main attraction in Xieng Khouang Province is the Plain of Jars. Stone jars of different sizes, apparently carved out of solid rocks, are scattered all over the plateau. The biggest one reaches a height of 3.25 meters. Researchers have advanced different theories as to the function of the stone jars, which are estimated to be 2,500 to 3,000 years old. Xieng Khouang can be reached by bus from Vientiane, Luang Prabang and Houaphanh or by direct flight (Lao Airlines) form Vientiane.
Hot spring
Approximately 52 kilometers north of the provincial capital of Phonsavanh in Muong Kham District there is a natural mineral hot water spring in a beautiful wooded area. Some people believe the water from the springs has magical properties to cures skin diseases. Visitors can enjoy a bath in natural hot spring however they should remain careful as temperatures can reach as high as 60 degrees Celsius.
The Mystery of the Plain of Jars The Mysterious Plain of Jars is situated about 12 kilometers from Ban Phonsavanh, the capital of the province. There are over 300 giant stone jars scattered across the misty plateau. The Jars vary in size from 1 to 3 meters height and up to 2.7 meters in diameters with the heaviest jar weighing 6 tons. An air of mystery hangs over the Plain of Jars. Local folklore says that, in the 6th century, the warrior king, Khun Jeuam, brought his army from Southern China and defeated the evil chieftain, Chao Angka. The mighty battle was followed by a mighty feast, at which hundreds of gigantic jars of lao-lao rice wine were consumed. Khun Jeuam was, apparently, as bad at tidying up as he was good at throwing parties, for he left behind all of the empty jars, of which nearly three hundred remain, scattered around the flat plains near Phonsavan, including his own six-ton”victory cup”. There is little physical evidence to say that this fanciful legend does not hold at least a little truth. Major wars have been fought on the plains over the centuries, as both Lao, Siamese and Vietnamese armies attempted to win control of them. In the nineteenth century, Chinese bandits further pillaged the plains so that, by the time French archaeologist, Madeleine Colani, arrived in the mid-1930s, almost all that remained of the ancient civilization of the plains were the jars. Colani claimed to have discovered beads, bronzes and other artifacts that led her to believe that the jars were funerary urns, dating back 2000 year-an opinion that is held by many reserachers today. However, Colani could not shed any light on how the huge jars, carved from non-indigenous limestone, had been transported to the plains or why so many remained, despite centuries of war. Another mystery surrounds the artifacts Colani found at the site, for they have all since vanished. One last mystery. Though many battles have ravaged these plains, most devastating were the secret battles and air raids of the Second Indochina War. Hundreds of thousands of bombs rained down upon the plains, destroying, among many others, the beautiful town and temples of Xieng Khouang, while running battles were fought and lost among the jars. American bombers also jettisoned unused bombs over the plains as they returned from raids on Vietnam. Yet, despite all the surrounding devastation, the jars were virtually untouched.
Thum Piew Thum Piew was very famous cave in Lao P.D.R. that could save a number of people from the war in 1950’s. The large cave was used as a bomb shelter by people from the nearly hamlets untill 1969 wen about 400 villages were villagers were killed by a single rocket fired into the cave.
Meuang Khoune
All that remains of the old town, which was destroyed in 1962, is the 14th Century THAT of the Wat Chom pagoda the earth as withness. In the monsoon season, vegetation invades the site. แขวงเชียงขวาง แขวงเชียงขวาง เป็นแขวงหนึ่งที่ถูกทำลายจากพวกจักรพรรดิต่างชาติจนเหลือแต่ซากปรักหักพัง แขวงเชียงขวางตั้งอยู่ภาคเหนือของ สปป.ลาว เป็นเขตภูเพียง (เขตที่เป็นภูเขาเตี้ยๆ) มีเนื้อที่ทั้งหมด ประมาณ 17,315 ตารางกิโลเมตร มีพลเมืองประมาณ 186,000 คน ประกอบด้วย 6 เมือง คือ เมืองแปก, เมืองคำ, เมืองหนองแฮด, เมืองคูน, เมืองหมอกใหม่ และเมืองพูกูด มีชายแดนติดกับแขวงหลวงพระบาง แขวงหัวพัน แขวงบริคำไช แขวงเวียงจันทน์ และประเทศสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม เมืองพวน แขวงเชียงขวางเป็นเมืองหนึ่งที่เก่าแก่ที่สุดของลาว ตั้งอยู่ภาคเหนือของ สปป.ลาว เมืองนี้มีชื่อเสียงโด่งดังทั่วโลกเนื่องจาก เป็นเมืองที่มีร่องรอยประวัติศาสตร์เก่าแก่และที่สำคัญนั้นก็คือไหหินใหญ่เป็นจำนวนมากมายกระจายอยู่เป็นกลุ่มก้อน บริเวณภูเพียงเชียงขวาง มีกษัตริย์ปกครองมาแล้ว 23 พระองค์ เป็นอาณาจักรหรือแคว้นที่ใหญ่ในสมัยก่อน เจ้าฟ้างุ้มได้รวบรวมลาวในกลางศตวรรษที่ 14 และเป็นเมืองที่มีร่องรอยวัฒนธรรมโบราณมากมาย มีตำนานพงศาวดารสืบต่อกันมา
มรดกโลก ทุ่งไหหิน ไหหิน เมืองพวน แขวงเชียงขวาง เป็นไหหินที่ผลิตจากหินก้อนใหญ่มีจำนวนมากกระจายไปทั่วเขตภูเพียงเชียงขวาง จึงได้ขนามนามว่า ทุ่งไหหิน ไหหินใหญ่ที่สุด สูง 3.25เมตร และปากกว้าง 3เมตร ทุ่งไหหินห่างจาก เมืองโพนสะหวันประมาณ 7.5กิโลเมตร ซึ่งเป็นเมืองเอกของแขวงเชียงขวางข้อพิสูจน์เกี่ยวกับไหหินอันแท้จริงของไหหินดังกล่าว ยังไม่มีใครสามารถยืนยันได้ว่าไหหินดังกล่าวนั้นมีไว้เพื่อทำการใด มีแต่เพียงข้อสันนิษฐาน 3 ประการว่า 1.อาจจะตัดมาจากหินก้อนใหญ่จำนวนหนึ่ง ซึ่งทำไว้เพื่อบรรจุคนตายในสมัยก่อน หลายพันปีมาแล้ว (ก่อนประวัติศาสตร์ยุคโลหะ 3,000-4,000ปี) ตามความเชื่อของคนในสมัยนั้นที่ว่า สถานที่ฝังศพคนตายต้องรักษาไว้ในที่สูง เพื่อหลีกเว้นการเซาะพังทลาย จากน้ำต่างๆ ดังนั้นจึงเห็นไหหินอยู่ในสถานที่เป็นเนินสูง 2.อาจจะเป็นไหเหล้าของนักรบโบราณ คือตามตำนานกล่าวไว้ว่าระว่างศตวรรษที่ 8 นักรบผู้กล้าหาญของลาวผู้หนึ่ง ชื่อว่าท้าวขุนเจือง ได้ยกกำลังพลไปทำสงครามแล้วก็ได้ชัยชนะอยู่ที่เชียงขวาง หลังจากได้รับชัยชนะแล้ว ก็ได้ทำการฉลองชัยอยู่ที่นั่นเป็นเวลา 7 เดือน ไหที่เห็นอยู่ในปัจจุบันเป็นไหเหล้าสำหรับเลี้ยงไพร่พลในการฉลองชัยชนะของท้าวขุนเจือง ในคราวนั้น ดังนั้นคนลาวทั่วไปมักเรียกว่า “ไหเหล้าเจือง” 3.เป็นปรากฎการณ์ธรรมชาติเช่นเดียวกับ Stone Henge ที่คล้ายคลึงกันคือเป็นหินตั้งกลางแจ้ง
เมืองคูน (เมืองพวน) เมืองคูน มีชื่อเดิมว่า เมืองพวน ตั้งอยู่ห่างจากเมืองโพนสะหวันประมาณ 35กิโลเมตร ก่อนสงครามต้านจักรพรรดิต่างชาติ เมืองพวนก็เคยเป็นเมืองประวัติศาสตร์ของแขวงเชียงขวาง และมีสถานที่โบราณมากมายหลายแห่ง เช่น วัดรีพรม, วัดเพียวัด, วัดธาตุจอมเพ็ชร, วัดธาตุฝุ่น ฯลฯ ซึ่งแต่ละวัดดังกล่าวนั้น ตามการเล่าของคนเฒ่าคนแก่ว่า เป็นวัดที่สร้างขึ้นก่อนสมัยเจ้าฟ้างุ้ม ประมาณ 200 กว่าปีตามการเล่านิทานของผู้เฒ่าผู้แก่ว่า เมื่อก่อนมีการแข่งขันกันระหว่างผู้หญิงและผู้ชาย เพื่อสร้างวัด ว่าใครจะมีความสามารถในการสร้างวัดเร็วกว่ากัน ซึ่งฝ่ายหญิงได้สร้างวัดเพียวัด และวัดธาตุจอมเพ็ชร ส่วนฝ่ายชายสร้างวัดสีพรม ผลสุดท้ายฝ่ายหญิงสามารถสร้างสำเร็จก่อนฝ่ายชาย เพราะฝ่ายชายถูกล้วงความลับโดยฝ่ายหญิง สำหรับธาตุฝุ่นที่สร้างไว้บนภูนั้น สร้างไว้เพื่อบรรจุเถ้าอังคารของพระพุทธเจ้า และมีสิ่งของที่สำคัญหลายอย่างบรรจุอยู่ในธาตุดังกล่าว ภายหลังเกิดสงครามจึงถูกทำลายหักพังไป และมีคนลักลอบไปขุดค้นเอาสิ่งของมีค่าไปจนหมด ซึ่งในปัจจุบัน คงเหลือไว้เพียงซากหักพังเท่านั้น ภายหลังสงครามปี 1968 โบราณสถานดังกล่าว ตลอดจนบ้านเรือนของประชาชนทั้งหมด ก็ได้ถูกทำลายลงอย่างน่าเสียดาย เหลือไว้แต่ซากปรักหักพัง เพื่อเป็นสิ่งแสดงให้เห็นความโหดร้ายของสงครามครามเวียดนาม หรือสงครามอินโดจีน ปัจจุบันได้มีการบูรณะก่อสร้าง ซ่อมแซมขึ้นใหม่
บ้านท่าโจ๊กบ้านท่าโจ๊กนี้ เป็นหมู่บ้านที่มีพลเมืองหลายชนเผ่าอาศัยอยู่ แต่ส่วนใหญ่เป็นเผ่าลาวสูง (ม้ง) ห่างจากเมืองโพนสะหวันประมาณ 30 กิโล
เมตร ตามเส้นทางหมายเลข 7 การทำมาหากินเป็นการทำไร่และ หาของป่าล่าสัตว์ มีพลเมืองอาศัยอยู่ประมาณ 300 ครอบครัว
บ่อน้ำร้อนเมืองคำบ่อน้ำร้อนเมืองคำนี้ อยู่ห่างจากเมืองโพนสะหวัน ไปทางทิศเหนือ ประมาณ 52 กิโลเมตร เมืองคำนี้เป็นเมืองเก่าแก่ของแขวงเชียงขวาง บ่อน้ำร้อนเมืองคำนี้ มีอุณหภูมิเฉลี่ย ประมาณ 60 องศา
ตลาดเช้าเมืองโพนสะหวัน
ตลาดเช้าเมืองโพนสะหวัน ตั้งอยู่ใจกลางเมืองโพนสะหวัน ในช่วงเช้าของแต่ละวัน ชาวบ้าน และพ่อค้าแม่ค้าจากชนเผ่าต่างๆ จะนำ สินค้าออกมาจำหน่าย ทั้งผัก ผลไม้ ที่เป็นผลิตผลจากแต่ละหมู่บ้าน นอกจากนั้น ยังมีร้านค้าซึ่งจำหน่ายสินค้า เสื้อผ้าและสิ่งของเครื่องใช้
ที่นำเข้ามาจากประเทศจีนและเวียดนาม อาทิ เสื้อกันหนาว ผ้าพันคอ ถุงมือ ถุงเท้า รองเท้า เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ เป็นจำนวนมาก