เชียงรายคำขวัญประจำจังหวัด
เหนือสุดยอดในสยาม ชายแดนสามแผ่นดิน ถิ่นวัฒนธรรมข้อมูลทั่วไป
เชียงราย เป็นจังหวัดที่อยู่เหนือสุดของประเทศไทย ห่างจากกรุงเทพฯเป็นระยะทาง 829 กิโลเมตร มีพื้นที่ประมาณ 11,678 ตารางกิโลเมตร ภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นภูเขา มีที่ราบอันอุดมสมบูรณ์ริมฝั่งแม่น้ำหลายสาย แบ่งการปกครองออกเป็น 16 อำเภอ และ 2 กิ่งอำเภอ คือ อำเภอเมือง อำเภอเชียงของ อำเภอพาน อำเภอแม่จัน อำเภอเชียงแสน อำเภอแม่สาย อำเภอแม่สรวย อำเภอเวียงป่าเป้า อำเภอป่าแดด อำเภอเวียงชัย อำเภอพญาเม็งราย อำเภอเทิง อำเภอเวียงแก่น อำเภอแม่ฟ้าหลวง อำเภอขุนตาล อำเภอแม่ลาว กิ่งอำเภอเวียงเชียงรุ้ง และกิ่งอำเภอดอยหลวงหมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
ประชาสัมพันธ์จังหวัด โทร. 0 5371 1870 สถานีตำรวจภูธร โทร. 0 5371 1444 ตำรวจท่องเที่ยว โทร. 0 5371 7779, 0 5371 7796, 1155 ท่าอากาศยานเชียงราย โทร. 0 5379 3048 บริษัท การบินไทย จำกัด โทร. 0 5371 1179 สถานีขนส่งจังหวัด โทร. 0 5371 1224โรงพยาบาลเชียงราย โทร. 0 5371 1300
ลิงค์น่าสนใจ
+ ดอยแม่สลอง
+ ฟาร์ม แมงป่องแม่สายเทศกาลน่าสนใจ
งานวันลิ้นจี่และของดีจังหวัดเชียงราย ประวัติ / ความเป็นมา การส่งเสริมการเกษตร และองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย ได้เริ่มมีการส่งเสริมให้มีการปลูกลิ้นจี่ในจังหวัดเชียงราย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2510 ซึ่งในระยะแรกชาวบ้านไม่ค่อยให้ความสนใจมากนักแต่หลังจากที่ทดลองปลูกใน 4 ปี ให้กลังต่อมา ชาวเชียงรายเริ่มเห็นคุณค่าในการปลูกลิ้นจี่ ทำให้พันธุ์ต้นลิ้นจี่ ขายดีมาก จนถึงปี 2520 สวนลิ้นจี่ในจังหวัดเชียงรายก็เพิ่มมากขึ้นเป็น 5,000 ไร่ และพอถึงปี 2524 ก็มีพื้นที่ปลูกลิ้นจี่เพิ่มขึ้นเป็น 10,000 ไร่ พันธุ์ลิ้นจี่ที่ปลูกกันอยู่ในจังหวัดเชียงราย เป็นพันธุ์ที่ต้องอาศัยความสัมพันธ์ของอุณหภูมิและระดับความสูงของพื้นที่ พันธุ์ที่รสชาติดีและมีชื่อเสียงที่สุด ได้แก่ พันธุ์ฮงฮวย และ โอเฮียะ ซึ่งในช่วงประมาณปลายเดือนพฤษภาคมมักจะเป็นช่วงที่ลิ้นจี่ออกผล เหมาะที่จะตัดจำหน่าย เพื่อเป็นการส่งเสริมและประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับลิ้นจี่ จึงมีการจัดงานวันลิ้นจี่ขึ้น
กำหนดงาน ขึ้นอยู่กับผู้จัด สามารถตรวจสอบรายละเอียดได้ที่ www.tat.or.th/festival
เทศกาลโล้ชิงช้าของชาวอีก้อประวัติ / ความเป็นมา ชาวเขาเผ่าอีก้อ หรือเรียกตนเองว่า “อาข่า” มีเชื้อสายจากจีนธิเบต เดินทางอพยพลงมาอยู่บริเวณชายแดน ไทย-พม่า แถบตอนเหนือลำน้ำแม่กกเป็นถิ่นที่มีชาวอีก้ออาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะในเขตอำเภอแม่จัน และแม่สาย ของเชียงราย อีก้อมีวิถีชีวิตและอุปนิสัยรักอิสระ และความสนุกสนานบันเทิงจึงเป็นชนชาวเขาที่มีประเพณีและเทศกาลงานรื่นเริงมากมายตลอดทั้งปี แม้ในยามปกติชีวิตประจำวัน อีก้อยังกำหนดพื้นที่ส่วนหนึ่งของหมู่บ้านไว้เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจเป็นลานเกี้ยวพาราสีสำหรับหนุ่มสาว และประกอบพิธีกรรมต่างๆ ที่เรียกว่า “กาลาล่าเซอ” หรือที่ชาวสังคมเมืองเรียกว่า “ลานสาวกอด” หรือในข้อเท็จจริงน่าจะรียกว่า ลานเอนกประสงค์ เพราะที่นั้น เป็นแหล่งชุมนุมของหนุ่มสาวในยามแดดร่มลมตกหลังจากเสร็จสิ้นภารกิจการงานในไร่ เป็นที่วิ่งเล่นของเด็กๆ ลานสำหรับร้องรำทำเพลงของชาวอีก้อ หนุ่มสาวชาวอีก้อนั้น เป็นกวี ทุกคนสามารถร้องรำทำเพลงเกี้ยวพาราสีโต้ตอบซึ่งกันและกัน ลานกาลาล่าเซอแห่งนี้จึงถือว่าเป็นเสมือนศูนย์ศิลปวัฒนธรรมของหมู่บ้าน เทศกาลโล้ชิงช้า (หละเฉอะปิ) ของชาวอีก้อเป็นการรำลึกถึงพระคุณแห่งเทพธิดา “อื่มซาแยะ” เทพธิดาแห่งสรวงสวรรค์ ผู้ประทานความชุ่มชื้นอุดมสมบูรณ์ ให้กับพืชพันธุ์ธัญญาหาร และเป็นการเซ่นไหว้บรรพบุรุษอีกด้วย การโล้ชิงช้าเป็นการขึ้นไปขอพรจากสรวงสวรรค์ เพื่อเทพธิดา “อื่มซาแยะ” จะได้ประทานพรกลับลงมา
กำหนดงาน ขึ้นอยู่กับผู้จัด สามารถตรวจสอบรายละเอียดได้ที่ www.tat.or.th/festival
ประเพณีทานต้นเกี๊ยะหลวงประวัติ / ความเป็นมา ประเพณีทานต้นเกี๊ยะหลวง เป็นประเพณีของชาวไตหรือไทยใหญ่ หรือที่ชาวเหนือเรียกว่า “เงี้ยว” ได้อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในจังหวัดเชียงรายเมื่อประมาณ 60-80 ปีล่วงมาแล้ว โดยกระจายอยู่ตามพื้นที่อำเภอต่างๆ เช่น อำเภอแม่สาย แม่จัน เชียงแสน รวมทั้งอำเภอเมืองเชียงราย ซึ่งในจำนวนนี้ไม่นับชาวไทยใหญ่ที่มีภูมิลำเนาอยู่ในแคว้นรัฐฉาน ประเทศเมียนม่า ที่ลักลอบหนีเข้าเมืองมาประกอบอาชีพต่างๆ ชาวไตหรือชาวไทยใหญ่ในจังหวัดเชียงราย มีความแน่นแฟ้นในพระพุทธศาสนามาก จะเห็นได้จากการสร้างวัดที่เป็นศิลปะของชาวไทยใหญ่ ที่มีให้เห็นหลายแห่ง เมื่อถึงเทศกาลออกพรรษาของทุกๆ ปี ชาวไทยใหญ่จะจัดงานที่ยิ่งใหญ่ ตามความเชื่อในตำนานของบรรพบุรุษที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา นั่นคืองาน “ตานต้นเกี๊ยะโหลง” หรืองานประเพณี ทานต้นเกี๊ยะหลวง ซึ่งสมัยก่อนๆ จะจัดงานขึ้นเฉพาะชุมชน ของตัวเองเท่านั้น ต่อมาได้ขยายออกไปจนเป็นงานระดับจังหวัด งานประเพณี “ตานต้นเกี๊ยะโหลง” มาจากตำนานพระเข้าเลียบโลกของชาวไทยใหญ่ กล่าวไว้ว่า…เมื่อถึงเทศกาลเข้าพรรษา องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ขึ้นไปโปรดพระพุทธมารดา บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เมื่อครบกำหนด 3 เดือน จึงได้เสด็จลงมาโปรดมนุษย์และสัตว์บนพิภพ ในคืนที่เสด็จลงมานั้น (วันออกพรรษา) ได้บังเกิดความอัศจรรย์และเป็นพุทธนิมิตที่ดีงาม บรรดาสิงสาราสัตว์ต่างออกมา จากป่าหิมพานต์ กรีดกรายร่ายรำฟ้อนเป็นพุทธบูชา เช่น นกกินรี นกกิงกล่า และ นกหั่งหลี ส่วนบรรดา บรรพบุรุษของพี่น้องชาวไทยใหญ่ต่างพากันเก็บดอกไม้ และจุดเกี๊ยะถวายเป็นพุทธบูชา
กำหนดงาน ขึ้นอยู่กับผู้จัด สามารถตรวจสอบรายละเอียดได้ที่ www.tat.or.th/festival
Travel NEWS
อ่าน ข่าวท่องเที่ยว ประชาสัมพันธ์ เชียงราย